การดำเนินงานในแต่ละระดับ | หมายเลขเอกสาร |
---|---|
การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ๑. มีระบบและกลไก ๑. หลักสูตรมีการวิเคราะห์ข้อมูลการเกษียณอายุ สถานภาพกำลังพลของคณาจารย์เป็นแผนระยะยาว ๔ ปี เพื่อเตรียมหาอาจารย์ประจำหลักสูตรทดแทน ๒. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละปีการศึกษา ๓. ประชุมคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยพิจารณาคุณสมบัติเช่น วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ และผลการดำเนินการทางด้านวิชาการ ๔. สอบถามความสมัครใจ ๕. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ๖. ปฐมนิเทศแนะแนวการเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ๗. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรทบทวนปํญหาและสอบถามอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อปรับปรุงแก้ไข ๒. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ ไม่มีการรับอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่ |
๔.๑ – ๐๑ ๔.๑ – ๐๒ ๔.๑ – ๐๓ |
การบริหารอาจารย์ ๑. มีระบบและกลไก ๑. มีการวิเคราะห์ข้อมูลการเกษียณอายุ สถานภาพกำลังพลของคณาจาย์เป็นแผนระยะยาว ๔ ปี เพื่อเตรียมหาอาจารย์ประจำหลักสูตรทดแทน โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของ รร.นรต.เพื่อวิเคราะห์สถานภาพของบุคลากรในมิติต่างๆ ๒. พิจารณาความดีความชอบการเลื่อนขั้น ตำแหน่ง โดยดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ/กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดสรรและมอบหมายงานให้เหมาะสมกับคุณวุฒิความสามารถและประสบการณ์ ๔. เสริมสร้างแรงจูงใจของอาจารย์ประจำหลักสูตร ป้องกันการลาออก ๕. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้พัฒนาตนเอง เช่น สนับสนุนทุนในการจัดทำผลงานวิชาการ ๖. ทบทวนผลการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ประจำหลักสูตรผ่านการประเมินการบริหารหลักสูตร จากคณาจารย์ ๗. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไข |
๔.๑ – ๐๔ ๔.๑ – ๐๕ ๔.๑ – ๐๖ ๔.๑ – ๐๗ ๔.๑ – ๐๘ ๔.๑ – ๐๙ ๔.๑ – ๑๐ ๔.๑ – ๑๑ |
๒. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ ๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นอาจารย์ ๑๐ ท่านเดิมตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ๒) อาจารย์ทั้ง ๑๐ ท่านได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นไปตามกรอบของการพิจารณาขั้นเงินเดือนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด อาจารย์มีการรายงานผลการประเมินตนเอง ตามข้อตกลงภาระงานโดยใน ๑ ปี แบ่งเป็น ๒ รอบๆ ละ ๖ เดือน ซึ่งจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงภาระงานนั้น ๓) อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นคณะกรรมการประเมินผลงานวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจโดยตำแหน่ง ทำหน้าที่ประเมินโครงร่างงานวิจัยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ พร้อมให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่จะทำให้ได้ผลงานการวิจัยที่ดีและรัดกุมมีความเหมาะสมกับเวลาของนักเรียน เป็นต้น โดยเฉลี่ยให้อาจารย์เป็นคณะกรรมการรับผิดชอบเท่าๆ กัน |
๔.๑ – ๐๒ ๔.๑ – ๐๙ |
๓. มีการประเมินกระบวนการ ๑) จากการดำเนินการในข้อ ๒. อาจารย์ประจำหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ประชุมทบทวนผลการดำเนินงาน พบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายท่านต้องการลาออกเนื่องจากมีภาระกิจเป็นจำนวนมาก เช่น ได้รับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโท ๒) หลักสูตรฯ ไม่มีอาจารย์ที่จบปริญญาเอก เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ๓) หลักสูตรได้ทบทวนการบริหารหลักสูตรของอาจารย์ประจำหลักสูตร ผ่านการสอบถามคณาจารย์ทั้งหมดในโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้คะแนนความพึงพอใจในประเด็น กลไกการคัดเลือกที่มีความเหมาะสม โปร่งใส การปฐมนิเทศ/อบรม/ชี้แจงในเรื่องบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการอย่างเหมาะสม มีภาระงานที่ได้รับมอบหมายมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา และเหมาะสมตามคุณวุฒิประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ย = ๔.๑๖ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ๔. มีการปรับปรุง/พัฒนา ๑) ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ประชุมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่มีวุฒิปริญญาเอก โดยกำหนดเป็นวาระเร่งด่วน มอบหมายให้ ๓ คณะสำรวจคุณสมบัติของอาจาย์ทั้งหมด เพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรฯ ขึ้นตามคำสั่ง รร.นรต.ที่ ๑๙๒/๒๕๕๙ ๒) สร้างแรงจูงใจให้กับอาจารย์ประจำหลักสูตรโดยกำหนดกรอบภาระงานโดยเพิ่มคะแนนให้กับอาจารย์ที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ๓) ได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งทางตำรวจจาก อาจารย์(สบ ๔) เป็น อาจารย์(สบ ๕) จำนวนอาจารย์ ๔ ท่าน ได้แก่ พ.ต.อ.หญิง ธนพร วุฒิกรวิภาค, พ.ต.อ.ภูวดล แสนพินิจ, พ.ต.อ.จรัส ธรรมะนารักษ์ และ พ.ต.อ.สหพัฒน์ หอมจันทร์ ๔) ได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสังคมศาสตร์ ได้แก่ รศ.พ.ต.อ. โสรัตน์ กลับวิลา ๕) ได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะตำรวจศาสตร์ ๒ ท่าน ได้แก่ รศ.พ.ต.อ.หญิง ธนพร วุฒิกรวิภาค และ ผศ.พ.ต.อ.ทัชชกร แสงทองดี |
๔.๑ – ๑๒ ๔.๑ – ๑๓ ๔.๑ – ๑๗ ๔.๑ – ๑๘ ๔.๑ – ๑๙ ๔.๑ – ๒๑ |
การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ๑. มีระบบและกลไก ๑. สำรวจความต้องการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ถึงความต้องการที่ต้องการให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจสนับสนุน เช่น การอบรมทางวิชาการเรื่องใดบ้าง ๒. จัดให้มีโครงการพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารหลักสูตร การผลิตผลงานวิชาการ การเรียนการสอน ดูงานทางวิชาการและวิชาชีพ ฯลฯ ๓. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ ๔. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ผลิตผลงานทางวิชาการ ๕. สนับสนุนทุนสำหรับทำวิจัยให้อาจารย์ประจำหลักสูตร ๖. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพตำรวจ เช่นได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือนที่สูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ๗. ทบทวนผลการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ผ่านการประชุม และการประเมิน ๘. พัฒนาปรับปรุงในปีถัดไป |
๔.๑ – ๐๔ ๔.๑ – ๐๕ ๔.๑ – ๐๖ ๔.๑ – ๐๗ ๔.๑ – ๐๘ ๔.๑ – ๐๙ ๔.๑ – ๑๐ ๔.๑ – ๑๑ |
๒. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ๑) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการได้คะแนน ๕ ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (หลักฐานตาม ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒) ๒) ส่งเสริมให้อาจารย์จัดทำผลงานวิชาการ ใช้ประกอบการประเมินเพื่อความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ รศ.พ.ต.อ.สหพัฒน์ หอมจันทร์ และ ผศ.พ.ต.อ.ทัชชกร แสงทองดี ๓) จัดโครงการอบรมให้กับอาจาย์และอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้มีความรู้ด้านการวิจัย ได้แก่ โครงการอบรมเรื่อง เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุนวิจัย และการพัฒนาศักยภาพการเขียนและเผยแพร่ผลงานวิจัย ๔) ส่งอาจารย์เข้าร่วมสัมมนาวิชาการกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึษาภายในระดับคณะและสถาบัน มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมมนาเรื่อง การปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์สู่อนาคต ของคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา ๕) ส่งอาจารย์ประจำหลักสูตรดูงานต่างประเทศร่วมกับคณะผู้บริหารของ รร.นรต. เช่น รศ.พ.ต.อ.โสรัตน์ กลับวิลา ดูงานโรงเรียนตำรวจกัมพูชา พ.ต.อ.สุวิทย์ แก้วกัลยา งานวิทยาลัยตำรวจเกาหลี รศ.พ.ต.อ.ปพัฒน์ วสุธวัช ดูงานโรงเรียนตำรวจประชาชนเวียดนาม ๖) ได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสังคมศาสตร์ ได้แก่ รศ.พ.ต.อ. โสรัตน์ กลับวิลา ๗) ได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะตำรวจศาสตร์ ๒ ท่าน ได้แก่ รศ.พ.ต.อ.หญิง ธนพร วุฒิกรวิภาค และ ผศ.พ.ต.อ.ทัชชกร แสงทองดี |
๔.๑ – ๑๒ ๔.๑ – ๑๔ ๔.๑ – ๑๕ ๔.๑ – ๑๖ ๔.๑ – ๑๘ ๔.๑ – ๑๙ ๔.๑ – ๒๒ |
๓. มีการประเมินกระบวนการ ๑) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร ด้านการได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพเหมาะสม ได้คะแนนต่ำที่สุด คือ ๔.๑๐ คะแนนความพึงพอใจในระดับมาก ๒) ผลจากการประชุมพบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตร อยากให้มีการปรับภาระงานให้เทียบเท่ารองคณบดี ๓) อยากให้มีการจัดอบรมเรื่องการเขียน มคอ.๓,๕,๗ และ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ |
๔.๑ – ๑๒ ๔.๑ – ๑๓ |
๔. มีการปรับปรุง/พัฒนา ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๑) อาจารย์ประจำหลักสูตรอยากให้มีการพัฒนาอบรมการเขียน มคอ.๓, ๕ และ ๗ และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ รร.นรต.จึงได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิชาการขึ้นในวันที่ ๘-๙ ม.ค.๒๕๕๙ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๑) ควรให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ภาระงาน เทียบเท่ารองคณบดี สภาคณาจารย์จึงได้จัดทำมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของคณาจารย์ประจำ รร.นรต. พ.ศ.๒๕๕๙ ขึ้น ผ่านความเห็นชอบจากสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และจัดทำเป็นประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อวันที่ ๘ เม.ย.๒๕๕๙ ๒) อาจารย์ประจำหลักสูตรได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาดูงานต่างประเทศ ร่วมกับคณะผู้บริหารจำนวน ๓ ท่าน |
๔.๑ – ๒๐ ๔.๑ – ๒๑ ๔.๑ – ๒๒ |
๕. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เสนอขอรับทุนภายในสำหรับทำวิจัย จำนวน ๑ เรื่อง ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตร เสนอขอรับทุนวิจัยจากภายใน หลังจากให้ความรู้เรื่อง เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุนวิจัย และการพัฒนาศักยภาพการเขีนและเผยแพร่ผลงานวิจัย อาจารย์ให้ความสำคัญและสนใจทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจนได้รับทุนสนับสนุนทำวิจัย ทั้งสถาบันจำนวน ๓๔ เรื่อง และใน ๓๔ เรื่องเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน ๖ เรื่อง ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเพื่อการวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย รร.นรต.เมื่อวันที่ ๒๘ มิ.ย.๒๕๕๙ |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | ๓ ระดับ | ๔ ระดับ | ๔ คะแนน |
þ สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน |
---|---|---|
๑ | - แผนพัฒนาบุคลากร รร.นรต. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ | ๔.๑ – ๐๑ |
๒ | - รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร | ๔.๑ – ๐๒ |
๓ | - คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ฯ | ๔.๑ – ๐๓ |
๔ | - คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับข้าราชการตำรวจ กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน และกลุ่มงานเทคนิค | ๔.๑ – ๐๔ |
๕ | หลักเกณฑ์วิธีการประเมินและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ทำหน้าที่อาจารย์ | ๔.๑ – ๐๕ |
๖ | กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.๒๕๔๗ | ๔.๑ – ๐๖ |
๗ | หนังนือ สง.ก.ตร. ที่ ๐๐๓๙.๑๑/๓๒๗ ลง ๑๒ ธ.ค.๒๕๔๙ เรื่อง แจ้งมติ ก.ตร.ครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙ | ๔.๑ – ๐๗ |
๘ | พระราชบัญญัติ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑ | ๔.๑ – ๐๘ |
๙ | กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๖ | ๔.๑ – ๐๙ |
๑๐ | กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑ | ๔.๑ – ๑๐ |
๑๑ | แนวทางการปฏิบัติในการสรรหาและคัดเลือกหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ | ๔.๑ – ๑๑ |
๑๒ | รายงานประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร | ๔.๑ – ๑๒ |
๑๓ | ผลการประเมินความพึงพอใจ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ | ๔.๑ – ๑๓ |
๑๔ | โครงการอบรม “เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุนวิจัย” | ๔.๑ – ๑๔ |
๑๕ | โครงการพัฒนาศักยภาพการเขียนและเผยแพร่งานวิจัย | ๔.๑ – ๑๕ |
๑๖ | บัญชีส่งข้าราชการตำรวจเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ | ๔.๑ – ๑๖ |
๑๗ | แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๙ | ๔.๑ – ๑๗ |
๑๘ | คำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต | ๔.๑ – ๑๘ |
๑๙ | รายงานประชุมสภาการศึกษา | ๔.๑ – ๑๙ |
๒๐ | โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ | ๔.๑ – ๒๐ |
๒๑ | มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของคณาจารย์ประจำ รร.นรต. พ.ศ.๒๕๕๙ | ๔.๑ – ๒๑ |
๒๒ | รายชื่อข้าราชการตำรวจที่ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ | ๔.๑ – ๒๒ |
๒๓ | รายงานการประชุมคณะกรรมการเพื่อการวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย รร.นรต. | ๔.๑ – ๒๓ |