เข้าชม : 67 |

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การรับนักศึกษา
- การรับนักศึกษา
- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
 
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน เอกสาร
Eการรับนักศึกษา
๑. ระบบและกลไกในการรับนักศึกษา
       รร.นรต.มีฝ่ายสรรหาและคัดเลือก รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสรรหา  โดยดำเนินการตามที่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การรับสมัครฯ  และประมวลกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๑๑ การศึกษา การฝึกและอบรม บทที่ ๕ ภาค ๑ ระเบียบและหลักสูตรการศึกษาอบรมนักเรียนนายร้อยตำรวจ และ ๗ นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งต้องจัดทำแผนการสรรหา กำหนดขั้นตอน  และออกกำหนดการรับสมัครและสอบคัดเลือก โดยมีขั้นตอนดังนี้
     ๑) สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดอัตราการรับสมัคร ปีการศึกษากำหนดไว้ ๒๘๐ คน เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๗  
กลุ่ม จำนวน หมายเหตุ
E หลักสูตร นรต.
  ๑.ข้าราชการตำรวจ (อายุไม่เกิน๒๕ปี)  
      (ชาย ๓๐ คน หญิง ๑๐ คน)
  ๒.บุคคลภายนอกหญิง (อายุ ๑๖-๒๑ปี)
     - กลุ่มทั่วไป ๕๗ คน
     - โครงการพิเศษชายแดนใต้ ๓ คน
       (ไทยมุสลิม ๒ คน, ไทยพุทธ ๑ คน)
๔๐
 
 
๖๐
 
 
 
รับเข้าเป็น นรต.ชั้นปีที่ ๑
E หลักสูตร นักเรียนเตรียมทหาร
      - กลุ่มทั่วไป ๑๖๕ คน
      - โครงการพิเศษชายแดนใต้ ๑๕ คน
        (ไทยมุสลิม ๑๒ คน, ไทยพุทธ ๓ คน)
๑๘๐
 
รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เรียนร่วมกับทหาร ๓ ปี แล้วจึงเข้ามาเป็น นรต.ชั้นปีที่ ๑
รวม ๒๘๐  
    
        ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ รร.นรต.จะต้องรับนักเรียนนายร้อยตำรวจเข้าเรียนในระดับชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๒๘๐ คน  จาก ๒ ส่วน ดังนี้
          (๑) หลักสูตร นรต. รับจากข้าราชการตำรวจชาย/หญิง และบุคคลภายนอกหญิงที่พึงสอบคัดเลือก ๑๐๐ คน
          (๒) หลักสูตร นักเรียนเตรียมทหาร รับจากนักเรียนเตรียมทหาร จำนวน ๑๘๐ คน ซึ่ง รร.นรต.ได้ทำการสอบคัดเลือกไว้เมื่อ ๓ ปีก่อน แล้วส่งไปเรียนที่ โรงเรียนเตรียมทหาร(ในระดับ มัธยมปลาย)
     ๒) ฝ่ายสรรหาจัดทำกำหนดการสอบ  ระเบียบการรับสมัครและสอบคัดเลือกและจัดทำคำสั่งคณะกรรมการรับสมัครและสอบคัดเลือกข้าราชการตำรวจ บุคคลภายนอก(หญิง) เข้าเป็น นรต. และบุคคลภายนอกเข้าเป็น นักเรียนเตรียมทหารชุดต่างๆ
(๑) คณะกรรมการอำนวยการรับสมัครและสอบคัดเลือกฯ
(๒) คณะทำงานเตรียมการรับสมัครสอบคัดเลือกฯ (การรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต)
(๓) คณะอนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ ออกข้อสอบ จัดทำข้อสอบ และคุมสอบ(ข้อเขียน)
(๔) คณะอนุกรรมการ ดำเนินการสอบรอบแรก ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการตรวจกระดาษคำตอบและประมวลผลสอบข้อเขียน   ตรวจกระดาษคำตอบด้วยสายตา   พิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ  ประกาศผลสอบรอบแรก(ข้อเขียน) ทางอินเตอร์เน็ต  และรายงานตัวด้วยตนเอง
(๗) คณะอนุกรรมการ ดำเนินการสอบรอบสอง ประกอบด้วย อนุกรรมการ สอบพละ  ตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือ  วัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ พิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ   ประมวลผลคะแนนรอบสุดท้าย  ประกาศผลสอบรองสุดท้าย อนุกรรมการรับหลักฐานและตรวจหลักฐาน
     ๓) ประชุมเตรียมความพร้อม ของคณะกรรมการชุดต่างๆ
     ๔) ดำเนินการตามขั้นตอนการรับสมัครปีการศึกษา ๒๕๕๘
ขั้นตอน นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย
ประกาศรับสมัคร ๑๗ ก.พ.๕๘ ๕ ม.ค.๕๘
รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ๒๔ ก.พ.๕๘-๑๐ มี.ค.๕๘ ๑๒-๓๐ ม.ค.๕๘
พิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ(รอบแรก) - ๒๔ มี.ค.๕๘
ออกข้อสอบ

นักเรียนนายร้อยตำรวจ
     วิทยาศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน
     คณิตศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน
     ภาษาอังกฤษ ๒๐๐ คะแนน
     ภาษาไทย ๒๐๐ คะแนน
นักเรียนเตรียมทหาร
     วิทยาศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน
     คณิตศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน
     ภาษาอังกฤษ ๑๕๐ คะแนน
     ภาษาไทย/สังคม ๑๕๐ คะแนน
 
 
 
 
 
 

๓๑ มี.ค.๕๘
๒๐ ก.พ.๕๘
พิมพ์ข้อสอบ ๓๑ มี.ค.๕๘ ๒๐ ก.พ.๕๘
สอบรอบแรก(ข้อเขียน) ๑ เม.ย.๕๘ ๒๑ ก.พ.๕๘
ตรวจกระดาษคำตอบและประมวลผลสอบ(รอบแรก)    
ตรวจกระดาษคำตอบด้วยสายตา    
ประกาศผลสอบข้อเขียน(รอบแรก) ๓ เม.ย.๕๘ ๒๔ ก.พ.๕๘
รายงานตัวด้วยตนเอง ๙ เม.ย.๕๘ ๒๖ ก.พ.๕๘
ตรวจร่างกาย/พิมพ์ลายนิ้วมือ ๑๖-๑๗ เม.ย.๕๘ ๓-๔ มี.ค.๕๘
สอบพลศึกษา

๒) นักเรียนนายร้อยตำรวจ
- วิ่ง ๑๐๐๐ ม.(เกิน ๗ นาทีถือว่าตก)
- ว่ายน้ำ ๕๐ ม.(เกิน ๓ นาทีถือว่าตก)
๑)นักเรียนเตรียมทหาร ๕๐ คะแนน ต้องได้เฉลี่ยไม่  ต่ำกว่า ๒๐ คะแนน และต้องไม่ตกว่ายน้ำและวิ่ง ๑๐๐๐ม.
- ทดสอบ ๖ สถานีย่อย ได้แก่ ดึงข้อราวเดี่ยว ลุกนั่ง ๓๐ วินาที  นั่งงอตัว  วิ่ง ๕๐   วิ่งกลับตัว และ ยืนกระโดดไกล
- วิ่ง ๑๐๐๐ ม.(เกิน ๕ นาที ๒๒ วินาทีถือว่าตก)
- ว่ายน้ำ ๕๐ ม.(เกิน ๑ นาที ๒๐ วินาทีถือว่าตก)
๑๘ เม.ย.๕๘ ๕ มี.ค.๕๘
ยื่นหลักฐานการสมัครและคะแนนเพิ่มพิเศษ ๑๙ เม.ย.๕๘  
วัดขนาดร่างกาย/สอบสัมภาษณ์ ๒๐ เม.ย.๕๘ ๖ มี.ค.๕๘
พิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ    
ประมวลผลสอบ รอบสุดท้าย    
ประกาศผลสอบ รอบสุดท้าย/รายงานตัว ๗ พ.ค.๕๘ /๑๓ พ.ค.๕๘ ๑๒ มี.ค.๕๘/๑๔ มี.ค.๕๘
ทำสัญญามอบตัว ๑๕ พ.ค.๕๘ ๒๐ มี.ค.๕๘
   
     ๕. การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนจะมีคณะกรรมการชุดต่างๆ ตามข้อ ๒ เป็นผู้ดำเนินการ  และหลังจากคณะกรรมการชุดต่างๆ ดำเนินการสอบเรียบร้อย จะต้องจัดทำรายงานปัญหาข้อขัดข้องที่ได้เกิดขึ้นในการดำเนินการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตรียมความพร้อมในการสอบ  การออกข้อสอบ  การจัดทำข้อสอบ การสอบพลศึกษา ทุกขั้นตอน
     ๖. ประชุมสรุปปัญหาข้อขัดข้องฯ  และพิจารณาแนวทางการรับสมัครปีต่อไป
 
๒. ผลการดำเนินการรับสมัคร
     การประกาศผลสอบทุกรอบเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยมีช่องทางในการประกาศ จะประกาศทางเว็บไซต์ www.rpca-admission,com และwww.rpca.ac.th.  รับ ๒๘๐ คน  ประกาศผลรอบแรกไว้ ๑,๐๘๐ คน  หลังจากสอบพละประกาศผลรอบสองรับ ๒๘๐ คน ประกาศสำรองก่อนเลือกเหล่า ๔๑๘ คน  และสำรองก่อนทำสัญญา ๗๕ คน รายละเอียด ดังนี้
 
กลุ่ม รับ มาสมัคร
(๒๕๕๗)
มาสมัคร
(๒๕๕๘)
ประกาศ
รอบแรก
(๒๕๕๗-๒๕๕๘)
ประกาศ
รอบสอง
(๒๕๕๘)
E หลักสูตร นรต.
๑.ข้าราชการตำรวจ
๒.ข้าราชการตำรวจหญิง
๓.บุคคลภายนอกหญิง-กลุ่มทั่วไป
๔.บุคคลภายนอกหญิง-ไทยมุสลิม
๕.บุคคลภายนอกหญิง-ไทยพุทธ
 
๓๐
 ๑๐
๕๗

๑๒๐๕๖ ๑๔๑๔๙  
๙๐ (๓เท่า)
๓๐ (๓เท่า)
๒๒๘ (๔เท่า)
๘ (๔เท่า)
๔ (๔เท่า)
 
๓๐ สำรอง ๑๐
๑๐ สำรอง ๑๐
๕๗ สำรอง ๒๐
๒ สำรอง ๑
๑ สำรอง ๒
E หลักสูตร นตท.
๖.กลุ่มทั่วไป ๑๖๕ คน
 
๗.ไทยมุสลิม
๘.ไทยพุทธ ๓
 
๑๖๕
 
๑๒
๑๗๔๓๑ ๑๕๐๘๐  
๖๖๐ (๔เท่า)
 
๔๘ (๔เท่า)
๑๒ (๔เท่า)
 
๑๖๕ สำรอง ๓๔๖/๒๐
๑๒ สำรอง ๒๒/๘
๓ สำรอง ๗/๔
(เลือกเหล่า/ทำสัญญา)
รวม ๒๘๐ ๒๙,๔๘๗ ๒๙,๒๒๙ ๑,๐๘๐ ๒๘๐ สำรอง ๔๑๘
๒๘๐ สำรอง ๗๕
 
๓. การประเมินกระบวนการรับนักศึกษา
     ๑) การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนจะมีการดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการทุกขั้นตอน  เพื่อความโปร่งใส ป้องกันการทุจริตในขั้นตอนสรรหาทุกขั้นตอน  และหลังจากคณะกรรมการชุดต่างๆ ดำเนินการเรียบร้อย จะต้องจัดทำรายงานปัญหาข้อขัดข้องที่ได้เกิดขึ้นในการดำเนินการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตรียมความพร้อมในการสอบ  การออกข้อสอบ  การจัดทำข้อสอบ การสอบพลศึกษา ทุกขั้นตอน  และประชุมสรุปปัญหาข้อขัดข้องฯ  และพิจารณาแนวทางการรับสมัครปีต่อไป สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๘ ดำเนินการประชุมเมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๒๕๕๘  เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมห้วยจระเข้  โดยมีผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นประธาน
     ๒) ระหว่างการดำเนินการแต่ละขั้นตอนจะมีการประชุมติดตามปัญหาข้อขัดข้องและเตรียมความพร้อมในขั้นตอนต่อไป ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๘ มี.ค.๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมห้วยจระเข้
 
 
 
 
๔.สรุปปัญหาและการปรับปรุง
๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๗
ปัญหา การปรับปรุง
(๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๖ มีการประกาศผลสอบรอบแรก ไว้เป็นจำนวน ๒ เท่าในกลุ่มของข้าราชการตำรวจชาย/หญิง  พบปัญหาว่าเมื่อสอบรอบสอง(พละ) แล้วมีจำนวนผู้ที่สอบผ่านทุกขั้นตอนเหลือจำนวนน้อย  หรือไม่มีตัวสำรอง หรือมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนที่ประกาศรับไว้ เช่น กลุ่มข้าราชการตำรวจหญิง ที่ต้องเรียกตัวสำรองของกลุ่มข้าราชการชายเข้ามาทดแทน - ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จึงได้ปรับเพิ่มโดยประกาศผู้ผ่านรอบแรก (ข้อเขียน) ในส่วนของข้าราชการตำรวจชาย/หญิง จากเดิม ๒ เท่าเพิ่มเป็น ๓ เท่า
- ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ดำเนินการเช่นเดียวกับปีการศึกษา ๒๕๕๗ เนื่องจากมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสม
 
 
๒) ปีการศึกษา ๒๕๕๘
ปัญหา การปรับปรุง
(๑) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบกับการรับสมัครในส่วนของ นักเรียนเตรียมทหาร ได้แก่คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ เสนอเรื่องความเกี่ยวพันธ์ของเด็กในความขัดแย้งกันด้ายอาวุธ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  ที่ห้ามไม่ให้บุคคลอายุต่อกว่า ๑๘ ปี ศึกษาอยู่ใน รร.ทหาร  ได้รับการฝึกการใช้อาวุธปืน  และ รมว.กห. สั่งการให้เหล่าทัพ รวมถึง โรงเรียนเตรียมทหาร  ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ นั้น  จึงได้เสนอแก้ไขระเบียบกองทัพไทยว่าด้วยคุณสมบัติผู้สมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร กำหนดอายุจากเดิม ๑๔-๑๗ ปี เป็น ๑๕-๑๗ โดยเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา ๒๕๕๘
 
- รร.นรต.เสนอ ตร.ขอยกเว้นคุณสมบัติผู้สมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
- รร.นรต.เสนอ สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ปีการศึกษา ปรับอายุผู้สมัครในส่วนของนักเรียนเตรียมทหารจากอายุ ๑๔-๑๗ ปี เป็น ๑๕-๑๗ ปี
 
(๒) การรับสมัครในปีการศึกษา ๒๕๕๗  เป็นปีแรกที่เปิดรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต  มีนักเรียนมากรอกข้อมูลผ่านระบบผิดกลุ่มหลายคน  ทำให้เสียโอกาสในการสอบเข้าแข่งขัน
     นอกจากนี้บางส่วนไม่ทราบว่าตนเองไม่ได้สมัครโดยอ้างว่าผู้ปกครองหรือสถาบันติวสมัครให้  ทำให้เสียโอกาส
- เพิ่มข้อกำหนดในการลงในระบบอินเตอร์เน็ตให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพิ่มขั้นตอนในการทำงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบให้ผู้สมัครเข้าตรวจสอบได้หลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ๓ วันทำการ  เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการชำระเงิน เช่น ธนาคารโอนเงินผิด  ให้ รร.กวดวิชาหรือฝากคนอื่นสมัครให้
(๓) โครงการสิทธิพิเศษ นร.๕ จว.ชายแดนภาคใต้ ตามที่ ศอ.บต.ร้องขอในส่วนของ นักเรียนเตรียมทหาร ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสการศึกษาแก่ นร.ในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่อย่างยั่งยืน เป็นเวลา ๕ ปี (๕รุ่น) โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ รุ่นละ ๑๕ คน พบปัญหาว่าผลการเรียนทั้ง ๑๕ คนมีคะแนนค่อนข้างต่ำ  สาเหตุเนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษาที่ไม่ดีนัก โดยปรากฎว่า  นักเรียนรุ่นแรก ต้องตกซ้ำชั้น ๔ นาย  หากซ้ำชั้นอีกครั้งจะต้องถูกให้ออก และปรับชดใช้เงินแก่ทางราชการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางลบ ทำให้เกิดภาพและความรู้สึกที่ไม่ดีต่อหน่วยงานราชการ มีผลต่อความมั่นคงและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แนวทางคือปรับลดจำนวนลงจาก ๑๕ นายเหลือ ๘ นาย - เนื่องจากเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ  เกี่ยวข้องกับ ศอ.บต. เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ที่จะต้องหารือร่วมกัน ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการ ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ ไม่สามารถดำเนินการปรับลดได้ทัน  และในปี ๒๕๕๙ ไม่มีการรับนักเรียนเตรียมทหาร เนื่องจากโรงเรียนเตรียมทหารปรับหลักสูตรจาก ๓ ปี เหลือ ๒ ปี จึงให้ปรับลดอีก ๓ รุ่นที่เหลือในปีการศึกษา ๒๕๖๐-๒๕๖๒
- รร.นรต. ร่วมกับ โรงเรียนเตรียมทหารให้ความช่วยเหลือเด็กที่รับเข้ามาแล้ว ๒ รุ่น โดยจัดครูพิเศษ สอนเพิ่มเติมให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว 
 
 
๓) ปีการศึกษา ๒๕๕๙ สรุปปัญหาหลังการสอบคัดเลือก
ปัญหา การปรับปรุง
(๑)  ปัญหาข้อสอบยาวและการพิมพ์ระบบ ๘ หน้ายก(๑๖ หน้า) ไม่สามารถบรรจุเนื้อหาข้อสอบได้พอ ฝ่ายพิมพ์ต้องบีบตัวอักษร  ทำให้ผู้เข้าสอบมองเห็นไม่ชัดผู้เข้าสอบต้อง
คาดเดา โจทย์ข้อสอบมีข้อจำกัด ไม่สามารถมีข้อความยาวๆ หรือรูปภาพจำนวนมากได้  และฝ่ายพิมพ์ต้องใช้เวลานานในการจัดรูปแบบให้อยู่ในกรอบ ๑๖ หน้า 
ให้เพิ่มหน้าข้อสอบเป็น ๒๔ หน้า ในปีการศึกษา ๒๕๖๐  การปรับเพิ่มหน้าข้อสอบ ส่งผลให้ฝ่ายทำชุดข้อสอบต้องพิมพ์สองครั้ง  ต้องใช้เวลาเพิ่ม ๒-๓ ชม.  มีงบประมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งกระทบกับหลายฝ่าย ได้แก่  งบประมาณ ฝ่ายออกข้อสอบ  ฝ่ายพิมพ์ข้อสอบ และฝายจัดทำชุดข้อสอบ จึงต้องมีการหารือร่วมกันทุกฝ่ายโดยได้แนวทางแก้ไขดังนี้
- ฝ่ายออกข้อสอบ ให้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจทานและคัดเลือกข้อสอบประจำแต่ละรายวิชาๆ ละ ๒ ท่าน (เดิม ๑ ท่าน/รายวิชา) ทำให้ส่งข้อสอบให้ฝ่ายพิมพ์ข้อสอบได้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง
- ฝ่ายพิมพ์ข้อสอบ ใช้เวลาในการปรับลดหรือบีบขนาดตัวอักษร จัดรูปแบบ/เรียงพิมพ์ น้อยลง  ข้อสอบมีข้อความยาวๆ หรือมีรูปภาพจำนวนมากได้ ทำให้ฝ่ายจัดทำชุดข้อสอบมีเวลาเพิ่มขึ้น
(๒) รร.นรต.ได้พัฒนารูปแบบการรับสมัครโดยทำ MOU บ.เคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยให้เขียนโปรแกรมการรับสมัคร และรับชำระเงิน โดย รร.นรต.ต้องการเพิ่มช่องทางการสมัครและสามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง แต่เนื่องจากเป็นปีแรก  ทำให้เกิดปัญหาจากการปฏิบัติ ได้แก่ บ.ไม่ปิดระบบการสมัครในเวลา
๑๖.๐๐ น. ทำให้มีผู้สมัคร สมัครเข้ามาได้จำนวน ๔๐ คน  และการรายงานผลคะแนนพบว่าระหว่างอัพโหลดข้อมูลไม่ได้ปิดระบบทำให้ผู้ที่เข้ามาตรวจสอบคะแนนได้รับผลที่ผิดพลาด
 
- ฝ่ายรับสมัครโทรไปแจ้งยังผู้สมัครจำนวน ๔๐ คน เพื่ออธิบายว่าไม่มีสิทธิสมัคร
- ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ บ.จะต้องปิดระบบทันทีหลังจากหมดเวลารับสมัครที่ได้ประกาศไป
 
๓.๑ – ๑ – ๐๑
๓.๑ – ๑ – ๐๒
๓.๑ – ๑ – ๐๓
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.๑ – ๑ – ๐๔
๓.๑ – ๑ – ๐๕
๓.๑ – ๑ – ๐๖
๓.๑ – ๑ – ๐๗
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.๑ – ๑ – ๐๘
๓.๑ – ๑ – ๐๙
๓.๑ – ๑ – ๑๐
๓.๑ – ๑ – ๑๑
๓.๑ – ๑ – ๑๒
๓.๑ – ๑ – ๑๓
 
๕.แนวปฏิบัติที่ดีในการรับนักศึกษา
(๑) ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหลักสูตรที่เด็กๆ ฝันอยากจะเข้ามาเรียนเพื่อจบออกไปเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร  โดยวัดได้จากจากนวนผู้สมัครซึ่งสูงมาก  ทำให้เกิดการแข่งขัน  สถาบันติวเกิดขึ้นทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด ทำให้มีโอกาสเกิดการทุจริตในการสอบเข้าได้สูง  แต่การดำเนินการสอบคัดเลือกของ รร.นรต.ไม่เคยมีประวัติการทุจริตเลย  ทั้งนี้เนื่องจากเรามีระบบการดำเนินการที่เข้มแข็ง  มีการดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการทุกขั้นตอน  มีการจัดทำคู่มือทุกขั้นตอน ทุกขั้นตอนมีการประชุมเตรียมความพร้อม/ติดตามปัญหาต่างๆ  และพัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ตั้งแต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงเงื่อนไขใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น การกำหนดสัดส่วนโควตาต่างๆ การพิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ การเลือกสถานที่สอบเพื่อให้เกิดกการทัดเทียมกันของเด็กทุกคน มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มช่องทางและอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัคร
 
Eมีระบบและกลไกในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
๑. ระบบและกลไก
๑. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ รร.นรต. หมวดที่ ๓ ข้อ ๒.๓ ปัญหาของนักเรียนแรกเข้า ได้แก่
๑.๑ การปรับตัวเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  
๒.๒ การลาออกหลังจากมีปัญหาการปรับตัว  
๒.๓ ความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน 
๒. ปีการศึกษา ๒๕๕๘ นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ ๑ รับมาจากกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน  ได้แก่  นักเรียนเตรียมทหาร ๑๗๙ คน  ข้าราชการตำรวจชาย/หญิง ๔๐ นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หญิง ๖๐ คน  รวมจำนวน ๒๗๙ คน  จากกระการสอบคัดเลือกที่เข้มข้นจากผู้เข้ารับการสอบแข่งขันจากประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน เหลือประมาณ ๒๘๐ คน  ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่สอบเข้ามาได้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการเป็นอย่างดี  จึงไม่เกิดปัญหาด้านวิชาการ  แต่นักเรียนจากกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกันในด้านความแข็งแรงของร่างกาย  วิถีชีวิตที่ผ่านการฝึกอบรมมาแตกต่างกัน  และมีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจน  ซึ่งต้องมาฝึกหนักอาจทำให้เกิดปัญหาตามข้อ ๑ ได้
๓. กองบังคับการปกครองซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปกครองบังคับบัญชาและให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ  ต้องติดตามพฤติกรรมด้านต่างๆ  จึงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมของ นรต.ก่อนเข้าศึกษาทุกปีการศึกษา   เพื่อให้กระบวนการเริ่มต้นของการศึกษาอบรม นรต. เป็นไปอย่างสมบูรณ์  นักเรียนใหม่ทุกนายได้เรียนรู้ในการเริ่มต้นชีวิตราชการเป็นตำรวจอาชีพที่เหมาะสม ได้รับการอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน พัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ พฤติกรรมให้เหมาะสมกับงานตำรวจ โดยให้เข้าอยู่ร่วมกันด้วยวิถีชีวิตประจำวันที่เรียบง่าย ประหยัด สมถะ และเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพกายและจิตใจ ความมุ่งมั่นที่จะศึกษา และเตรียมความพร้อมในการปรับตัว ให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนของ รร.นรต.  ซึ่งได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐานให้กับนักเรียนใหม่  โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ บก.ปค. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙ กิจกรรมดังกล่าวจัดให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ
ชั้นปีที่ ๑ ที่เข้ามาทุกคน  กิจกรรมดังกล่าวมีแผนย่อย ได้แก่ 
- แผนการรับนักเรียนใหม่  จะดำเนินการในวันแรกที่นักเรียนมารายงานตัววันแรก  (๒๔ มี.ค.๒๕๕๘)
- แผนการปรับพื้นฐานนักเรียนใหม่  ก่อนศึกษาภาควิชาการของภาคการศึกษาแรก มีกำหนดระยะเวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ (๒๔ มี.ค. – ๑๐ เม.ย.๒๕๕๘)  โดยมีกิจกรรมย่อยคือ แนะนำสถานที่และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ รร.นรต. แจกของหลวง แนะนำ รปจ.กองร้อย  ทดสอบจิตใจ  บรรยายพิเศษโดยผู้บังคับบัญชา/วิทยากรพิเศษ  ฝ่ายวิชาการ/ฝ่ายการฝึก/ฝ่ายสนับสนุนการเรียน/สำนักประกันฯ บรรยายแนะนำหน่วย  ฝึกแบบตำรวจ และปฏิบัติธรรมพัฒนาจิตใจ
- แผนการอบรมพัฒนาจิตใจให้กับนักเรียนใหม่  ดำเนินการในช่วงปรับพื้นฐานนักเรียนใหม่ ๓ วัน
- กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชา  หลังจากฝึกช่วงแรกจะปล่อยให้พับผู้ปกครองและให้กลับบ้านครั้งแรกหลังจากเข้ามาใน รร.นรต. (๑๐ เม.ย.๒๕๕๘)
๔. ฝ่ายปกครองวางแผนการดำเนินงาน  ขออนุมัติดำเนินการ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ   จากนั้นประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการ  ระหว่างดำเนินการในตอนกลางคืนทุกวัน  และหลังการดำเนินการเพื่อทราบปัญหาและหาทางปรับปรุงแก้ไขในแต่ละวัน
๕. สำนักประกันคุณภาพการศึกษาประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
ชั้นปีที่ ๑  ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
๖. รายงานผลให้ผู้บัญชาการรับทราบ และฝ่ายปกครองเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงในปีต่อไป
 
.การดำเนินการ
ปีการศึกษา ๒๕๕๘ กองบังคับการปกครอง ได้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ตามแผนดังนี้
- ต้อนรับ นรต.ใหม่ จำนวน ๒๗๙ นาย ในวันที่ ๒๔ มี.ค.๒๕๕๘  และร่วมทำจิตอาสาทำความสะอาดและพัฒนา  ณ วัดบางช้างเหนือ  หลังจากนั้นเดินเท้ามายังโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- เข้าสู่กิจกรรมอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน นักเรียนใหม่ ระหว่าง วันที่ ๒๔ มี.ค.-๑๐ เม.ย.๒๕๕๘ รวม ๑๘ วัน  
- กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชา ในวันที่ ๑๐ เม.ย.๒๕๕๘ 
ปีการศึกษา ๒๕๕๙ กองบังคับการปกครอง  ได้ดำเนินการต้อนรับ นรต.ใหม่ในวันที่ ๒๒ มี.ค.๒๕๕๙  อบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน นรต.ใหม่ ในวันที่ ๒๒ มี.ค. - ๑๑ เม.ย.๒๕๕๙ และกิจกรรมรดน้ำขอพรผู้บังคับบัญชา ในวันที่ ๑๑ เม.ย.๒๕๕๙ โดยกิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการขออนุมัติผู้บังคับบัญชา ดำเนินการปรับพื้นฐานและพัฒนาจิตใจตามแผนที่วางไว้
 
๓. การประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
๑. ฝ่ายปกครอง ๑ กองบังคับการปกครอง  ประเมินกระบวนการผ่านที่ประชุมบริหาร กองบังคับการปกครอง ประจำเดือน พ.ค.๒๕๕๘ พบว่าในปีการศึกษา ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ มี.ค.-๑๐ เม.ย.๒๕๕๘ ไม่มีรายชื่อผู้บังคับบัญชาและวิทยากรที่จะทำหน้าที่บรรยายพิเศษ ทำให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่ทราบกำหนดการ  ที่ประชุมรับทราบและให้ปรับปรุงแก้ไขในปีถัดไป ผลการประเมินผลการปฏิบัติในปีการศึกษา ๒๕๕๘ พบว่า การเดินทาง
๒. หลังการดำเนินการในแต่ละวัน ในเวลากลางคืน ฝ่ายปกครอง ๑ จะประชุมผู้หมวด ผู้กอง เพื่อทราบปัญหาในแต่ละวันและหาแนวทางแก้ไขในวันถัดไป
๓. สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจในประเด็นด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ตามหนังสือ สปศ.รร.นรต. ที่ ๐๐๓๕.๙/๑๖๙ ลง ๑๙ เม.ย.๒๕๕๙  ผลการประเมินความพึงพอใจตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การรับนักศึกษา  หัวข้อ การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา  ค่าเฉลี่ยที่ได้ ๓.๗๐ ระดับความพึงพอใจมาก
 
๔.สรุปปัญหาและการปรับปรุง
๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๑) ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ พบปัญหาว่า นักเรียนใหม่จะต้องเดินทางด้วยการเดินแถว  จากวัดบางช้างเหนือมายังโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ระหว่างทางจะมีรถสัญจรไปมาคับคั่ง  เกรงว่า นักเรียนใหม่อาจได้รับอันตราย และประกอบกับอากาศร้อนอบอ้าว เมื่อมาถึงและรับการฝึกแล้วอาจเกิดโรคลมแดด (Heat stroke) ได้  ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  ในปีการศึกษา ๒๕๕๘  จึงได้ดำเนินการขอรถดับเพลิง เพื่อฉีดพ่นน้ำคลายความร้อน และขอตำรวจจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกการจราจร เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว
๒) ปีการศึกษา ๒๕๕๙
(๑) ตามที่ ฝ่ายปกครอง๑ กองบังคับการปกครอง ได้รายงานผลการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐานนักเรียนใหม่ ในที่ประชุมบริหารประจำเดือน พ.ค.๒๕๕๘ ว่าการขออนุมัติกิจกรรมไม่มีรายชื่อผู้บังคับบัญชาและวิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยายพิเศษ ทำให้ผู้บังคับบัญชาไม่ทราบและไม่ได้เข้าร่วมดำเนินกิจกรรม  นักเรียนเสียโอกาสในการได้รับทราบข้อมูลที่สำคัญ  ในปีการศึกษา ๒๕๕๙  ฝ่ายปกครอง ๑ จึงดำเนินการประสานขอรายชื่อผู้ทำหน้าที่วิทยากรบรรยายพิเศษบรรจุลงในหนังสือขออนุมัติจัดกิจกรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน
(๒) ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ กิจกรรมที่จัดเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา นักเรียนนายร้อยตำรวจ บางกลุ่ม ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ  บางส่วนเข้าโครงการอุปสมบท ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ จึงได้ปรับให้ นักเรียนผู้ช่วยกองร้อยอื่นมาช่วยดูแล และให้ปรับเวลารับน้องจากวันที่ ๒๓ มี.ค.๒๕๕๙ เป็นวันที่ ๒๘ มี.ค.๒๕๕๙ หลังจากชุดที่ไปศึกษาดูงานต่างประเทศกลับมาก่อน
 
๕.แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
(๑) คะแนนความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เท่ากับ ๓.๕๑ ระดับความพึงพอใจมาก ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ เท่ากับ ๓.๗๐ ระดับความพึงพอใจมาก จะเห็นว่าคะแนนความพึงพอใจสูงขึ้น
(๒) ผลการคงอยู่ขอนักเรียนนายร้อยตำรวจมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
 
๓.๑ – ๒ – ๐๑
๓.๑ – ๒ – ๐๒
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.๑ – ๒ – ๐๓
๓.๑ – ๒ – ๐๔
๓.๑ – ๒ – ๐๕
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.๑ – ๒ – ๐๖
๓.๑ – ๒ – ๐๗
๓.๑ – ๒ – ๐๘
๓.๑ – ๒ – ๐๙
๓.๑ – ๒ – ๑๐
๓.๑ – ๒ – ๑๑
๓.๑ – ๒ – ๑๒
๓.๑ – ๒ – ๑๓
๓.๑ – ๒ – ๑๔
๓.๑ – ๒ – ๑๕
 
ตารางสรุปการคงอยู่ของนักศึกษา
ปีการศึกษาที่รับเข้า
 
จำนวน
ที่รับเข้า
ปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา รวมสำเร็จการศึกษา สำเร็จการศึกษาในระยะเวลา
ที่กำหนด
ลาออก เสียชีวิต สำเร็จการศึกษาช้ากว่ากำหนด ตกค้าง
๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ๒๕๕๘      
๒๕๕๒ (นรต.รุ่นที่ ๖๖) ๒๗๖ ๒๖๕ - - ๒๗๓ ๒๖๕ - -
๒๕๕๓ (นรต.รุ่นที่ ๖๗) ๒๗๙ - ๒๗๒ - ๒๗๗ ๒๗๒ -
๒๕๕๔ (นรต.รุ่นที่ ๖๘) ๒๘๐ - - ๒๗๔ ๒๗๗ ๒๗๔ -            -
๒๕๕๕ (นรต.รุ่นที่ ๖๙) ๒๗๕ - - - ๒๖๙ ๒๖๙ ๒๖๙
 
ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
การรับนักศึกษา ๓ ระดับ ๕ ระดับ ๕ คะแนน þ สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย
 

 
รายการหลักฐาน
ที่ รายการหลักฐาน รหัสหลักฐาน
สรุปขั้นตอนการดำเนินการ สอบคัดเลือก ๓.๑ – ๑ – ๐๑
บันทึก สกพ.ที่ ๐๐๐๙.๑๖๑/๑๐๒๒๓ ลง ๔ ม.ค.๒๕๕๘ อนุมัติหลักการรับสมัครและสอบคัดเลือก ข้าราชการตำรวจ บุคคลภายนอกเข้าเป็น นรต. และ นตท.ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๓.๑ – ๑ – ๐๒
บันทึก บก.อก.(สค.) ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๑๔๕  ลง ๙ ก.ค. ๒๕๕๗  แผนการปฏิบัติ การรับสมัครและสอบคัดเลือก นรต.และนตท. ประจำปี ๒๕๕๘  ๓.๑ – ๑ – ๐๓
บันทึก บก.อก.(สค.)ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๑๗๕ ลง ๑๕ ม.ค.๒๕๕๗ ประกาศจำนวนผู้สอบผ่านรอบแรกฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๓.๑ – ๑ – ๐๔
บันทึก บก.อก.(สค.)ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๕๐๒ ลง ๕ ก.พ.๒๕๕๘ ประกาศจำนวนผู้สอบผ่านรอบแรกฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๓.๑ – ๑ – ๐๕
รายงานการประชุม พิจารณาแนวทางปฏิบัติการรับสมัครและสอบคัดเลือกฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ วันที่ ๑๒ ธ.ค.๒๕๕๗ ๓.๑ – ๑ – ๐๖
บันทึก รร.นรต.ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๖๒๖ ลง ๒๔ มี.ค.๒๕๕๙ เชิญประชุมสรุปปัญหาข้อขัดข้องฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๓.๑ – ๑ – ๐๗
สรุปปัญหาและแนวทางแก้ไข ๓.๑ – ๑ – ๐๘
บันทึก รร.นรต.ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๑๑๔๑ ลง  ๒๔ พ.ค.๒๕๕๙ เชิญประชุมสรุปปัญหาข้อขัดข้องฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๓.๑ – ๑ – ๐๙
๑๐ บันทึก บก.อก. ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๑๙๗๘ ลง ๒ มิ.ย.๒๕๕๙ รายงานผลการหารือเพื่อแก้ไขการจัดทำข้อสอบ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๓.๑ – ๑ – ๑๐
๑๑ บักทึก บก.อก.ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๒๗๐๖ ลง ๒๘ ก.ค.๒๕๕๘ เรื่องขออนุมัติโครงการรับสมัครบุคคลภายนอกชาย ผู้มีคุณวุฒิ ม.๖ หรือเทียบเท่า ๓.๑ – ๑ – ๑๑
๑๒ บันทึก สกพ.ที่ ๐๐๐๙.๑๖๑/๑๐๔๖๙ ลง ๔ พ.ย.๒๕๕๘ เรื่อง ขอปรับลดจำนวนโควตาโครงการสิทธิพิเศษแก่ นักเรียน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาใน รร.ตท. ๓.๑ – ๑ – ๑๒
๑๓ บันทึก รร.นรต.ที่ ๐๐๓๕.๑๑/๑๑๑๙ ลง ๑๙ พ.ค.๒๕๕๙ เรื่องงดรับและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้าเป็น นตท.ในส่วนของ ตร.โครงการสิทธิพิเศษ ๕ จว.ชายแดนภาคใต้ ๓.๑ – ๑ – ๑๓
๑๔ แผนปฏิบัติราชการ บก.ปค. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ ๓.๑ – ๒ – ๐๑
๑๕ แผนปฏิบัติราชการ บก.ปค. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ ๓.๑ – ๒ – ๐๒
๑๖ หนังสือ บก.ปค. ที่ ๐๐๓๕.๒/๑๐๓๓   ลง ๒๐ มี.ค.๒๕๕๘ เรื่อง ขออนุมัติจัดการอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน นรต.ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๒ (นักเรียนใหม่) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๓.๑ – ๒ – ๐๓
๑๗ หนังสือ บก.ปค. ที่ ๐๐๓๕.๒๑๑/๑๐๓๔ ลง ๒๐ มี.ค.๒๕๕๘ เรื่อง ขออนุมัติจัดพิธีรดน้ำขอพรผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชาของ นร.ใหม่ รุ่นที่ ๗๒ เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ๓.๑ – ๒ – ๐๔
๑๘ หนังสือ บก.ปค. ด่วนที่สุด ที่ ๐๐๓๕.๒๑/๗๒๕ ลง ๑๕ มี.ค.๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดพิธีต้อนรับ นรต.ใหม่ ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๓ (นร.ใหม่) และประชุมผู้ปกครอง ๓.๑ – ๒ – ๐๕
๑๙ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร บก.ปค. ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗   ๓.๑ – ๒ – ๐๖
๒๐ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร บก.ปค. ครั้งที่ ๕/๒๕๕๗   ๓.๑ – ๒ – ๐๗
๒๑ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร บก.ปค. ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘   ๓.๑ – ๒ – ๐๘
๒๒ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร บก.ปค. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘   ๓.๑ – ๒ – ๐๙
๒๓ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร บก.ปค. ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘   ๓.๑ – ๒ – ๑๐
๒๔ รายงานผลการประชุมเตรียมความพร้อมการปฏิบัติ ๓.๑ – ๒ – ๑๑
๒๕ รายงานผลการดำเนินการจัดการอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน  นรต.ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๓ ๓.๑ – ๒ – ๑๒
๒๖ แผนปฏิบัติในการอบรมพัฒนาจิตใจและปรับพื้นฐาน นร.ใหม่ ๓.๑ – ๒ – ๑๓
๒๗ หนังสือ สปศ.รร.นรต. ที่ ๐๐๓๕.๙/๓๖๒  ลง ๕ ส.ค. ๒๕๕๘ เรื่อง ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นหลักสูตรและการจัดการศึกษาของ รร.นรต.ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๓.๑ – ๒ – ๑๔
๒๘ หนังสือ สปศ.รร.นรต. ที่ ๐๐๓๕.๙/๒๒๓  ลง ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๙ เรื่อง ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นหลักสูตรและการจัดการศึกษาของ รร.นรต.ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๓.๑ – ๒ – ๑๕