เข้าชม : 30 |

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ การบริการวิชาการแก่สังคมระดับสถาบัน
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
เกณฑ์มาตรฐาน
๑. กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
๒. จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ ๑
๓. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน
๔. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๕. สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
๖. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ ๒  โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ
 
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน ๔ คะแนน ๕
มีการดำเนินการ
๑ ข้อ
มีการดำเนินการ
๒ ข้อ
มีการดำเนินการ
๓ – ๔ ข้อ
มีการดำเนินการ
๕ ข้อ
มีการดำเนินการ
๖ ข้อ
 
ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์ การดำเนินงานใจแต่ละข้อ หมายเลขเอกสาร
ข้อที่ ๑ กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้จัดทำโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) โดยมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนายร้อยตำรวจแกนนำ ให้สามารถเป็นแกนนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง ๔ มิติกับโรงเรียนเหล่า/สถาบันอื่นๆ และชุมชน โดยเน้นการปรับทัศนคติและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลด ละ  เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่  ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการระบบ/กลไกการสร้างเสริมสุขภาพตามบทบาทของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพทั้งในระดับของสถาบันและระดับท้องถิ่น/ชุมชน ยกระดับการทำงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจในรูปแบบเครือข่าย โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ระหว่างเครือข่าย อันจะสามารถเป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้แก่สถานศึกษาอื่นได้
    กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียน ๔ เหล่า ประกอบด้วย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ตลอดจนอาจารย์  ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการที่เข้าร่วมโครงการฯจากโรงเรียนทั้ง ๔ เหล่า ผู้ปกครองของนักเรียนและเครือข่ายชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
 
 
๓.๒ - ๑ - ๐๑
 
 
 
ข้อที่ ๒ จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ ๑
     การดำเนินการโครงการในข้อ ๑ ได้วางแผนการดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและขยายเครือข่าย  ระยะที่ ๒ การดำเนินกิจกรรมของโครงการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และโรงเรียนเครือข่าย และระยะที่ ๓ สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเสริมสุขภาพ
 
 
๓.๒ - ๒ - ๐๑
 
ข้อที่ ๓ ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน
     ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดนวัตกรรม องค์ความรู้ เครื่องมือ/คู่มือที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรในโรงเรียนทั้ง ๔ เหล่าทัพ ที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพได้ จำนวน ๓๒ ผลงาน ซึ่งแต่ละกิจกรรมของโครงการทั้งที่ดำเนินการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจและโรงเรียนเหล่าที่เป็นเครือข่ายสอดรับกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยพัฒนาต่อยอดกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จสู่นวัตกรรมต้นแบบที่สามารถป้องกันและสร้างเสริมสุขภาวะที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีและถูกต้องในสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ตรงตามหลัก G-SMART แบ่งกิจกรรมหลักเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) SMART Academy  ๒) SMART Innovation  ๓) SMART Network
 
 
 
๓.๒ - ๓ - ๐๑
ข้อที่ ๔ ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
     กลุ่มนักเรียนนายร้อยแกนนำส่งเสริมสุขภาพ(SMART Hero) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสำรวจบริบทชุมชนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยเล็งเห็นถึงปัญหาและคิดค้นแนวคิดใหม่ในการสร้างภูมิต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมรอบตัวคนในชุมชน การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานบริบทชุมชนรอบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ส่งเสริมสุขภาพ ได้เรียนรู้กระบวนการและเทคนิคในการสำรวจบริบทชุมชน ทำให้มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน สร้างสามัคคี และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร และชุมชนที่เป็นภาคีเครือข่าย
 
๓.๒ - ๔ – ๐๑
ข้อที่ ๕ สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
      Community พลังเครือข่ายลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สร้างชุมชนน่าอยู่” โดยความร่วมมือของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนาคประสิทธิ์ ชมรมคนขับรถตู้โรงเรียนนาคประสิทธิ์ ชุมชนวัดบางช้างเหนือ และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. เพื่อสร้างเครือข่ายความดีพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่และเหล้า สร้างวิถีชีวิตสุภาพดี ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้จัดกิจกรรม “SMART Network SMART
 
 
๓.๒ - ๕ – ๐๑
ข้อที่ ๖ ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ ๒  โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ
     โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการตามข้อ ๑ และคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากรในสังกัดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานชมรมสร้างเสริมสุขภาพโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อรองรับการดำเนินโครงการอีกส่วนหนึ่งด้วย
 
 
 
๓.๒ - ๖ - ๐๑
๓.๒ - ๖ - ๐๒
 

ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
การบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ ๕ ข้อ ๖ ข้อ
 
 ๕ คะแนน þ สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย
 
รายการหลักฐาน
ที่ รายการหลักฐาน รหัสหลักฐาน แหล่งหลักฐาน
โครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) ๓.๒ - ๑ - ๐๑
 
นว.
วิธีการดำเนินการ โครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) ๓.๒ - ๒ - ๐๑ นว.
บทสรุปของโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) ๓.๒ - ๓ - ๐๑ นว.
กิจกรรมสำรวจบริบทชุมชนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ๓.๒ - ๔ - ๐๑ นว.
กิจกรรม SMART Network SMART Community พลังเครือข่ายลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สร้างชุมชนน่าอยู่ ๓.๒ - ๕ - ๐๑ นว.
คำสั่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ ๕๙๘/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) ๓.๒ - ๖ - ๐๑ นว.
คำสั่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ ๓๖๔/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๓.๒ - ๖ - ๐๒ นว.