ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 | การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
การดำเนินงานในแต่ละระดับ | หมายเลขเอกสาร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี 1. มีระบบและกลไก 1.1 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ มีนักศึกษาคือนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1-4 มีอาจารย์จาก 3 คณะได้แก่ คณะตำรวจศาสตร์ นิติวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ร่วมกันดูแล โดยจะแบ่งสัดส่วนตามจำนวนอาจารย์ ทุกปีการศึกษา พร้อมทั้งมีคู่มือให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยมีหน้าที่ ดังนี้ (1) ให้คำปรึกษาในด้านวิชาการ - ศึกษาหลักสูตรและแผนการเรียน เพื่อให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง - สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ - ให้คำแนะนำแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ เกี่ยวกับหลักสูตร รายวิชาต่าง ๆ วิธีการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล - แนะนำนักเรียนนายร้อยตำรวจ เกี่ยวกับการลงทะเบียน และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสอนกรณีขาดสอบ ผลการเรียนเป็น (I) และกรณีที่รายวิชาปรากฏผลเป็นการเรียนไม่ผ่าน (F) - เก็บหลักฐานผลการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อติดตามความก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ - แนะนำวิธีการเรียนและการประพฤติปฏิบัติของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ในระหว่างเรียน - แนะนำแหล่งวิทยาการ นวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ - ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ - ให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยเหลือนักเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการเรียน - ประสานงานกับคณะและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ - ประสานงานหรือแจ้งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ด้านการเรียนการสอนแก่คณะหรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อการพัฒนาผู้เรียน รวมถึงประสานงานเพื่อช่วยเหลือในกรณีมีปัญหา - ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น การให้เหรียญรางวัลเรียนดี ทุนการศึกษา และการลา เป็นต้น (2) การให้คำปรึกษาด้านการใช้ชีวิต - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตใน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ - ให้คำปรึกษา แนะนำด้านคุณธรรม จริยธรรม - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ - ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนนายร้อยตำรวจ - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนต่อในระดับสูง - ให้มุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชาชีพตำรวจ เช่น ลักษณะของงาน สภาพแวดล้อมของงาน ตลอดจนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ - สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างนักเรียนนายร้อยตำรวจ อาจารย์ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ - ป้อนข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อการแก้ไขปัญหา - ตักเตือนในกรณีมีความประพฤติไม่เหมาะสม 1.2 ทั้งสามคณะมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา 1.3 ทั้งสามคณะได้มีการประชาสัมพันธ์คำสั่งให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ทราบอาจารย์ที่ปรึกษาโดย ส่งคำสั่งดังกล่าวให้ฝ่ายปกครองเพื่อแจ้งนักเรียนนายร้อยตำรวจ ติดประกาศประชาสัมพันธ์ที่คณะ ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของคณะ 1.4 ดำเนินการให้คำปรึกษาตามคู่มือให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 1.5 รายงานผลการให้คำปรึกษาให้คณบดีรับทราบ ตามแบบบันทึกให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ (สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา) ท้ายคู่มือให้คำปรึกษาอาจารย์ 1.6 ประเมินผลการให้คำปรึกษา |
3.2(1) - 1 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน 2.1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยทั้งสามคณะดำเนินการจัดทำคำสั่ง แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา 2561 2.2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจออกคำสั่งที่ 329/2561 ลง 18 ก.ค. 2561 เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการทำโครงงานหรือวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้คณาจารย์ทั้ง 3 คณะ ให้คำปรึกษาการทำโครงงานหรือวิจัยของ นรต.ชั้นปีที่ 4 เพื่อให้การดำเนินโครงงานหรือวิจัยเป็นไปตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ 2.3 หลังจากคณาจารย์ได้รับมอบหมายและนำไปปฏิบัติ ให้คำปรึกษากับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา อาทิเช่น การให้คำปรึกษาผ่านช่องทางไลน์แอพพลิเคชั่น มีการติดตารางเวลาให้ นรต. เข้าพบ มีการติดตามผลสอบเพื่อทราบและแก้ไขปัญหา เป็นต้น อีกทั้งมีการกำหนดแบบบันทึกให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่ นรต. เพื่อเป็นกลไกในการกำกับติดตาม การดำเนินการให้การปรึกษา เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยอาจารย์จะต้องรายงานผลต่อคณบดีเพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงปัญหา และหาแนวทางแก้ไขต่อไป |
3.2(1) - 2 - 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีการประเมินกระบวนการ มีการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีการให้คำปรึกษาและแนะแนวแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา 2561 ค่าเฉลี่ยในภาพรวมได้ค่าเฉลี่ย 3.96 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่นักเรียนนายร้อยตำรวจให้คะแนนสูงสุดคือ การแนะนำการค้นข้อมูลด้านการจัดการศึกษา ได้คะแนน 3.89 และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การให้เวลาในการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา มีคะแนน 3.61 สิ่งที่นักเรียนนายร้อยตำรวจต้องการให้พัฒนาในกระบวนการให้คำปรึกษา คือ ต้องการให้อาจารย์มีเวลาในการให้คำปรึกษาให้มากขึ้น และเพิ่มช่องทางการขอคำปรึกษามีความสะดวกยิ่งขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน จากผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ในการขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทางคณาจารย์ปรับปรุงและพัฒนาการให้คำปรึกษา กล่าวคือ 3.1 จัดทำคู่มือการให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก่อาจารย์ที่ปรึกษา ในการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ 3.2 อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่าน จัดทำกลุ่มไลน์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียนนายร้อยตำรวจ แยกตามชั้นปี ซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้รับความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อการวางแผนด้านการเรียนและซักถามปัญหาต่างๆ ตลอดจนการติดตามทุกข์สุข และปัญหาทางด้านการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ นอกจากการให้คำปรึกษาในเวลาปกติ การประชาสัมพันธ์การพบปะกับนักเรียนนายร้อยตำรวจผ่านช่องทาง Face Book ซึ่งถือว่าเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นที่นิยมในขณะนี้เป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการตื่นตัวในการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ |
3.2(1) - 3 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.ผลการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรม 4.1 จากการใช้คู่มือการให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จนทำให้เกิดผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีความสนใจในด้านวิชาการ ได้จัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรมตำรวจ 5.0 นักเรียนนายร้อยตำรวจ : บูรณาการการเรียนรู้สู่ทักษะภาคปฏิบัติ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศจาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามโครงการประกวดการจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ Good Practice (หน่วยงานวิชาการและการฝึก) ประจำปี พ.ศ.2560 4.2 จากการเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับนักเรียน นายร้อยตำรวจแต่ละกลุ่มที่มีเวลาจำกัด และมีความแตกต่างกันเนื่องจากแต่ละชั้นปีมีภารกิจ และการเรียนที่แตกต่างกัน ทำให้อาจารย์สามารถติดตาม แก้ไข แนะนำให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจตามแผนการเรียนของหลักสูตร ช่วยให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถจบได้ตามเวลาของหลักสูตร โดยเฉพาะในด้านการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 72 จัดทำโครงงานหรือวิจัย อันเป็นส่วนหนึ่งของการสอบวิชาชีพตำรวจ (การสอบประมวลความรู้ก่อนจบการศึกษา) ที่กำหนดไว้ว่านักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องส่งเล่มโครงงานหรือวิจัย ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม เพื่อรวบรวมส่งเป็นหลักฐานการสอบวิชาชีพตำรวจ การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษานั้น ส่งผลให้นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 72 ทำโครงงานวิจัยได้เป็นไปตามหลักสูตร และจบการศึกษาตามเวลาของหลักสูตรทุกคน อาทิเช่น 1) โครงการ : การวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบในเส้นผมมนุษย์เพื่อจำแนกตัวบุคคลโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope: SEM) โดยมี ศ.พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 2) โครงการ : การใช้คุณลักษณะทางแสงจากกล้องจุลทรรศน์โพลาไรซ์ ในการศึกษาเส้นขนสุนัขที่มีการเลี้ยงในประเทศไทย โดยมี ศ.พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 3) โครงงาน : ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมี ผศ.พ.ต.อ.วรวุฒิ ชุมวรฐายี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 4) โครงการ : การแสดงแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของพยานหลักฐานทางดิจิทัลจากข้อมูลเอ็กซิฟโดยใช้ไลบรารี่ของไพทอน โดยมี ร.ต.อ. วงศ์ยศ เกิดศรี เป็นที่ปรึกษาโครงการ 4.3 มีการส่งเสริมให้ นักเรียนนายร้อยตำรวจ ออกไปแข่งขันตามที่ตนถนัด เช่น ไปแข่งขันเกี่ยวกับทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์จนได้รับรางวัลระดับชาติ เช่น การแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อ วันที่ 3 ก.ค. 2561 ณ ศซบ.ทหาร อาคาร 7 กองบัญชาการกองทัพไทยและการประชุมระดับนานาชาติ The 3rd General Assembly Annual Meeting Association of Police Training Institution in Asia (APTA 2018) เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง A Design of Facebook User Analysis System for Human Trafficking Page Monitoring in Thailand ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการค้นหาตัวผู้กระทำความผิด รวมถึงมีการจัดกิจกรรมให้ตรงตามคุณลักษณะของหลักสูตร เช่น โครงการจิตอาสา ซึ่งคณะนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการพัฒนาเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดเวลา และมีกลไกการกำกับดูแลนักเรียนนายร้อยตำรวจ ให้ได้รับการพัฒนาตามสาระการเรียนรู้มีทักษะที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐาน 4.4 จากกระบวนการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุขในการเรียน ส่งผลให้อัตราการคงอยู่ของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบปีการศึกษา 2558 – 2561 (รุ่นที่ 70-72) มีแนวโน้มสูงขึ้น มีผลการดำเนินงานร้อยละ 98.54, 99.64 และ 99.28 ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการให้คำปรึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น |
3.2(1) - 4 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1. มีระบบและกลไก 1.1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งมีพันธกิจหลักในการเรียนการสอนหลักสูตรหลัก คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ปรับปรุง พ.ศ.2561 ได้แบ่งโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่มอบหมายให้หน่วยงานภายในที่มีหน้าที่ในการจัดการเรียน การสอน พัฒนาผู้เรียน รับผิดชอบในการพัฒนานักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ กองบังคับการปกครอง ศูนย์ฝึกตำรวจ คณะตำรวจศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะนิติวิทยาศาสตร์ โดยให้แต่ละหน่วยดำเนินการพัฒนาทักษะต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของหน่วย 1.2 หน่วยที่ได้รับมอบหมายดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนการจัดการเรียนการสอนของหน่วย โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน โดยบรรจุโครงการ/กิจกรรมต่างๆ และกำหนดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลตามขั้นตอนที่กำหนด ทุก 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน โครงการ/กิจกรรม ที่บรรจุอยู่ในแผน หรือในรายงานการจัดทำ มคอ.3 และ 5 1.3 รายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ให้ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจทราบ 1.4 มีการประเมินแผนปฏิบัติราชการโครงการ/กิจกรรม ทุก 6 เดือน, 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในปีถัดไป 1.5 ประเมินการดำเนินการพัฒนานักศึกษาในภาพรวม 1.6 ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงตามคำแนะนำ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจพัฒนาคือ ทักษะชีวิตและอาชีพ การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ โดยได้จัดโครงการที่สำคัญ 4 โครงการ คือ - โครงการอบรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม - โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท - โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน - โครงการอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลและอาชญากรรมไซเบอร์ |
3.2(2) - 1 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. มีการนำระบบและกลไก ไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 2.1 โครงการอบรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 75 (นักเรียนใหม่) ระหว่างวันที่ 8-11 เม.ย. 2561 เพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ฝึกตนเองให้รู้จักมีความอดทน อดกลั้น เป็นการปรับพื้นฐานจิตใจ ละลายพฤติกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาใน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นักเรียนใหม่) 2.2 โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท ตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ 34 ตามหนังสือ รร.นรต. ที่ 0035.24/1138 ลง 11 พ.ค. 2561 ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-13 ก.ย. 2561 ในเขตพื้นที่ จว.สมุทรสงคราม โดยแนวทางการฝึกคือให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้พักอาศัยกับครอบครัวประชาชนในชนบท ได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่และเรียนรู้วิถีชีวิตจากสังคมภายนอก อันเป็นสังคมแห่งความเป็นจริง ที่นักเรียนนายร้อยตำรวจต้องเผชิญ และเป็นกระบวนการปลูกฝังให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความอดทน อดกลั้น ฝึกการมวลชนสัมพันธ์ และเรียนรู้การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเมื่อนักเรียนนายร้อยตำรวจ สำเร็จการศึกษาต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ และรับใช้ประชาชน โดยจะทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ ทราบถึงปัญหา และแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป 2.3 โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน ตามหลักสูตรนักเรียน นายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 22 ประจำปี 2561 ตามหนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.242/311 ลง 6 ก.ค. 2561 ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.-11 ก.ย. 2561 ณ องค์กร, สถานสงเคราะห์, สถานพินิจ และ ศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจเรียนรู้การทำงานจากประสบการณ์จริง เสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ตลอดจนให้ความสำคัญของปัญหาชุมชน โดยเข้าไปสัมผัสปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง 2.4 โครงการฝึกอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลและอาชญากรรม ไซเบอร์ ซึ่งนักเรียนนายร้อยตำรวจได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานด้านดังกล่าว โดยมุ่งเน้นในการให้การพัฒนาศักยภาพในงานนิติวิทยาศาสตร์ด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีทักษะในการแก้ปัญหา มีนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การประเมินกระบวนการ 1) รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ - รายงานผลการดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 75 ตามหนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/202 ลง 10 พ.ค.2561 - รายงานผลการวิเคราะห์แบบสอบถามหลักสูตร นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ 34 ตามหนังสือ กจ.บก.ปค. ที่0035.241/532 ลง 12 ธ.ค.2561 - รายงานผลการประเมินการฝึกหลักสูตร นรต.สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 22 ประจำปี 2561 ตามหนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.242/513 ลง 26 พ.ย. 2561 -จากผลการประเมิน โครงการฝึกอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลและอาชญากรรมไซเบอร์ ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้ทางด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ทั้งยังได้รับเทคนิค วิธีการ และแนวทางการสืบสวนอาชญากรรมไซเบอร์แนวใหม่กลับไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของผู้เข้าอบรมเอง โดยผลการประเมินเป็นที่น่าพอใจมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 4.63 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน นักเรียนนายร้อยตำรวจมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดอบรมทักษะทางไซเบอร์ในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม 2) การประเมินความพึงพอใจในประเด็นด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ตามหนังสือ สปศ.รร.นรต. ที่ 0035.9/504 ลง 7 พ.ค.2562 ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา สรุปคะแนนความพึงพอใจของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ระดับคะแนน 3.91 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน
|
3.2(2) - 3 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม 4.1 โครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต. ชั้นปีที่ 1 ในปี 2561 (นรต.รุ่นที่ 75) ได้มีการบรรยายเน้น เรื่องกฎแห่งกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของกฎแห่งกรรม โดยเปรียบเทียบจากผลการประเมินปีงบประมาณ 2560 และ 2561 ได้ดังนี้.-
4.2 โครงการ นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท ในปี 2561 (รุ่นที่ 34) ได้กำหนดขั้นตอนการรายงานผลการปฏิบัติประจำวัน โดยให้ นรต. รายงานผลการปฏิบัติประจำวันในช่วงค่ำเป็นต้นไปและไม่เกิน 21.00 น. เพื่อให้ นรต. สามารถทำงานหรือกิจกรรมกับครอบครัวพ่อแม่สมมุติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบในปี 2560 พบว่า นรต. ประสบปัญหาเรื่องการรายงานผลการปฏิบัติประจำวันที่มากเกินไป จำนวนร้อยละ 4.47 และในปี 2561 พบ นรต. ประสบปัญหาเรื่องการรายงานผลการปฏิบัติประจำวันที่มากเกินไป จำนวนร้อยละ 0.73 โดยมีจำนวน นรต. ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการรายงานผลลดลงจากปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 3.74 ซึ่งถือว่าเป็นผลสัมฤทธิ์จากการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี 4.3 โครงการ นรต.สัมผัสปัญหาชุมชน ในปี 2561 (รุ่นที่ 22) ได้จัดการปฐมนิเทศหลักสูตร นรต. สัมผัสปัญหาชุมชน โดยได้เชิญผู้แทนองค์กรมาแนะนำวิธีการปฏิบัติตนในการปรับตัวเข้ากับคนพิการ คนชรา และผู้ป่วยทางจิตแก่ นรต. โดยเปรียบเทียบจากผลการประเมินปีงบประมาณ 2560 และ 2561 ได้ดังนี้.-
4.4 โครงการอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลและอาชญากรรมไซเบอร์ ได้มีการ พัฒนา โดยมีการจัดทำโครงการขึ้นใหม่เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ตามที่นักเรียนได้ประเมินไว้ คือ โครงการฝึกทักษะนักเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ การพัฒนาทำให้เด็กเกิดทักษะและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปนำเสนอโครงการวิจัย ในระดับนานาชาติ เช่น - การนำเสนอผลงานวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจในงาน The 4th International Undergraduate Conference on Policing ของโครงการวิจัย เรื่อง “การแสดงแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของพยานหลักฐานทางดิจิทัลจากข้อมูลเอ็กซิฟโดยใช้ไลบรารี่ของไพทอน” ซึ่งเป็นการพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงเพื่อช่วยงานด้าน การสืบสวนสอบสวนได้ในอนาคต - การนำเสนอผลงานการปฏิบัติงาน ณ งานประชุมตำรวจสากล INTERPA ประเทศอินเดีย จากการปฏิบัติตามโครงการและกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล ที่นำมาใช้กับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้นำเสนอผลงานการปฏิบัติงาน ณ งานประชุมตำรวจสากล INTERPA ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวทางปฏิบัติงานของโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สู่สากล - การประชุมระดับนานาชาติ The 3rd General Assembly Annual Meeting Association of Police Training Institution in Asia (APTA 2018) เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง A Design of Facebook User Analysis System for Human Trafficking Page Monitoring in Thailand ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการค้นหาตัวผู้กระทำความผิด |
3.2(2) - 4 – 01 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน จากโครงการฝึกทักษะนักเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีทักษะทางคอมพิวเตอร์และสนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 นาย จะเป็นผู้เรียนนำร่องในการเสริมทักษะและความรู้ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ในระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ประจำปี 2561 โดยได้คัดเลือกตัวแทนนักเรียนนายร้อยตำรวจในโครงการจำนวน 12 นาย แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ซึ่งใช้รูปแบบการแข่งขันเป็นลักษณะการค้นหาธง (Capture The Flag : CTF) โดยในการแข่งขัน ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีม SecondHUNTER ได้อันดับ 2 ทำคะแนนได้ 3,368 คะแนน ทีม FirstHUNTER ได้อันดับ 3 ทำคะแนนได้ 3,288 คะแนน และทีม ThirdHUNTER ได้อันดับ 7 ทำคะแนนได้ 2,760 คะแนน จากทีมผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 14 ทีม ดังแสดงรายละเอียดในตารางรายงานผลการแข่งขันต่อไปนี้
|
3.2(2) - 5 – 01 |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | ระดับ 4 | 5 ระดับ | 5 คะแนน |
► สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน |
---|---|---|
1 |
หลักฐานระบบกลไกการให้คำปรึกษา -คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาที่ 38/2561ประจำปีการศึกษา 2561 -คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการทำโครงงานหรือวิจัย ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ คำสั่งที่ 329/2561 -แบบบันทึกให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ |
3.2(1) - 1 - 01 |
2 |
มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานการให้คำปรึกษา และการประเมิน -รายงานผลการให้ผลการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ -รูปภาพการบรรยายให้ความรู้ทางภัยทางไซเบอร์แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1-4 -รูปภาพการสื่อสารระหว่าง นักเรียนนายร้อยตำรวจ กับ อาจารย์ที่ปรึกษา -สรุปผลประเมินความพึงพอใจในการขอรับคำปรึกษาทางไลน์จากอาจารย์ที่ปรึกษาคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ -ผลการประเมินความพึงพอใจประเด็นด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2561 |
3.2(1) - 2 - 01 |
3 |
หลักฐานการพัฒนาปรับปรุงการให้คำปรึกษา -คู่มือการให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ -รูปภาพกลุ่มไลน์ของอาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียนนายร้อยตำรวจ แยกตามชั้นปี |
3.2(1) - 3 - 03 |
4 |
ผลการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรมด้านการให้คำปรึกษา -หนังสือส่งผลการสอบและรูปเล่มโครงการงานวิจัย นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 (รุ่นที่ 72) -การประขุมระดับนานาชาติ The 3rd General Assembly Annual Meeting Association of Police Training Institution in Asia (APTA 2018) |
3.2(1) - 4 - 04 |
5 |
หลักฐานระบบกลไกการให้พัฒนานักศึกษาศตวรรษที่ 21 -หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/092 ลง 23 ก.พ.2561 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการฝึกอบรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 75 (นักเรียนใหม่) ประจำปี 2561 - หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.24/1138 ลง 11 พ.ค.2561 เรื่อง ขออนุมัติฝึกหลักสูตร นรต. ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ 34 ประจำปี 2561 - หนังสือ รร.นรต. ที่ 0035.242/311 ลง 6 ก.ค.2561 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินงานตามหลักสูตร นรต. สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 22 ประจำปี 2561 -โครงการอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล |
3.2(2) - 1 - 01 |
6 |
มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานการพัฒนานักศึกษาศตวรรษที่ 21 และการประเมิน - หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/199 ลง 1 พ.ค.2560 เรื่อง รายงานผลการดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 74 ประจำปี 2560 - หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/575 ลง 6 พ.ย.2560 เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์แบบสอบถามหลักสูตร นรต. ฝึกรับใช้ประชนในชนบท รุ่นที่ 33 ประจำปี 2560 - หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.242/579 ลง 8 ธ.ค.2560 เรื่อง รายงานผลการประเมินการฝึกหลักสูตร นรต. สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 21 ประจำปี 2560 -ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฝึกอบรมการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลและอาชญากรรมไซเบอร์ |
3.2(2) - 2 - 02 |
7 |
หลักฐานการพัฒนาปรับปรุงการพัฒนานักศึกษาศตวรรษที่ 21 -หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/202 ลง 10 พ.ค.2561 เรื่อง รายงานผลการดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 75 ประจำปี 2561 -- หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.241/532 ลง 12 ธ.ค.2561 เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์แบบสอบถามหลักสูตร นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ 34 ประจำปี 2561 - หนังสือ กจ.บก.ปค. ที่ 0035.242/513 ลง 26 พ.ย.2561 เรื่อง รายงานผลการประเมินหลักสูตร นรต. สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 22 ประจำปี 2561 -โครงการฝึกทักษะนักเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ |
3.2(2) - 3 - 01 |
8 |
ผลการปรับปรุงเห็นชัดเป็นรูปธรรมด้านการพัฒนานักศึกษาศตวรรษที่ 21 - คู่มือ การดำเนินงานหลักสูตร นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ 34 ประจำปี 2561 - คู่มือ การปฏิบัติงานนักเรียนนายร้อยตำรวจ หลักสูตร นรต. สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ 22 ประจำปี 2561 - The 4th International Undergraduate Conference on Policing - การนำเสนอผลงานการปฏิบัติงาน ณ งานประชุมตำรวจสากล INTERPA ประเทศอินเดีย |
3.2(2) - 4 - 01 |
9 | ภาพการแข่งทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 | 3.2(2) - 5 - 01 |