เข้าชม : 188 |

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตร
- การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
 
ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงาน หมายเลขเอกสาร
การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร
1. ระบบและกลไก
    หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 มีกระบวนการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ       บัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 และมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ.2558 โดยกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างหลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน   แบบบูรณาการ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ตอบสนองความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Needs of stakeholder) ตลอดจนการยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกับมาตรฐานสากลของนานาชาติ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาที่สอดคล้องกับข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้บัณฑิต      มีความรู้ทั้งในด้านวิชาการ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการประกอบวิชาชีพ
  
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
    หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์หลักสูตรให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ซึ่งมีการดำเนินการร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการพิจารณาปรับปรุง/เพิ่มเติมสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อขอรับความเห็นชอบ และเสนอสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่ออนุมัติใช้
    มีการปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตรควบปริญญา 2 ใบ คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โดยพิจารณาวิชาเรียนที่สามารถเทียบโอน และมีการเพิ่มเติมสาระรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะทั่วไปของนายตำรวจสัญญาบัตรตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกฎหมาย 2) ด้านวิชาการตำรวจ  3) ด้านยุทธวิธี 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ 5) ด้านสมรรถภาพร่างกาย โดยมีการปรับสาระรายวิชาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ด้านการบังคับใช้กฎหมายและวิชาชีพตำรวจในโลกปัจจุบัน ตัดวิชาที่ไม่จำเป็น ยุบรวมวิชาที่มีความซ้ำซ้อนกัน และเชื่อมโยงวิชาการกับการฝึกยุทธวิธีตำรวจและกิจกรรมเสริมหลักสูตร/เพิ่มฝึกปฏิบัติในพื้นที่ 
    มีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจ และวิชาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จากคณะสังคมศาสตร์ เป็น คณะนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนกับอาจารย์ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นและเป็นการเรียนปรับพื้นฐานในรายวิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
    มีการปรับเปลี่ยนวิชาอาเซียนศึกษา เป็น “อาเซียนศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” โดยกำหนดเนื้อหาสาระให้ครอบคลุมครบถ้วนยิ่งขึ้น เน้นการปฏิบัติงานของตำรวจในอาเซียน และการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในวิชาชีพตำรวจ โดยเน้นการปฏิบัติงานของตำรวจในประชาคมอาเซียนและการดำเนินการด้านตำรวจสากล ซึ่งมีความจำเป็นต่อวิชาชีพตำรวจในยุคปัจจุบันที่มีการเปิดเสรีทางการค้าและการสื่อสารไร้พรมแดน
 
มีการประเมินกระบวนการ
   โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินกระบวนการออกแบบหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจต่อการออกแบบหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ที่ระดับคะแนน 4.04 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
 
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน
    ผลจากการปรับปรุงหลักสูตร โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตรรวมทั้งการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
 
    วิชาภาษาอังกฤษ มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอน โดยจัดเรียงลำดับรายวิชาภาษาอังกฤษให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน จากเดิมสอนใน 2 ชั้นปี ได้กระจายจัดการเรียนการสอนในทุกชั้นปี ซึ่งให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับแต่ละระดับชั้นปี และปรับวิธี    การสอนโดยใช้รูปแบบโมดูลและการแสดงบทบาทสมมติ เน้นการสื่อสารในวิชาชีพตำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้มีความรู้ความเข้าใจและมีเทคนิคในการนำความรู้ไปปรับใช้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงมากขึ้น โดยผลการประเมินจากที่นักเรียนเข้าร่วมฝึกปฏิบัติจริงสามารถสอบผ่านทักษะในแต่ละรายการได้ดี
   วิชาสังคมวิทยา มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นพัฒนาการเรียนรู้ให้ตรงกับปัญหาสังคมที่เป็นปัญหาสำคัญอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาคอรัปชั่น เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในโครงการสัมมนาวิชาการระดับชาติ “บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ในวันที่ 28 เมษายน 2561 โรงแรมแอมบาสเดอร์ นาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยนักเรียนนายร้อยตำรวจได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดบูท และการแสดงบทบาทสมมุติ
    วิชาภาษาไทย มีการปรับเนื้อหาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยพัฒนาศาสตร์ทาง   การพูด เพิ่มทักษะการเป็นผู้นำ และการพูดในสถานที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ต่อยอดทั้งในทางวิชาการและวิชาชีพได้ รวมถึงเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางด้านภาษาไทยที่ยังคงต้องรักษาไว้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากรายวิชาไปประกวดตามโครงการประกวดสุนทรพจน์ได้ และสามารถนำผลจากการประกวดมาบูรณาการในรายวิชาอื่นอีกได้
    วิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การก่ออาชญากรรมในปัจจุบันและหลักมาตรฐานสากล โดยการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและสื่อการสอน เทคนิคและทางเลือกเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เน้นการฝึกปฏิบัติ โดยใช้สถานการณ์สมมติ ซึ่งถือว่าเป็น “การเรียนด้วยประสบการณ์ตรง” ฝึกให้ผู้เรียนทำซ้ำๆ ในสถานการณ์สมมติเสมือนจริง และพัฒนาสถานการณ์สมมติเสมือนจริงให้เป็นไปตามแบบสากล โดยเน้นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานด้านความปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เป็นเสมือนจริงในเรื่องเทคนิคการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเทคนิคที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ในการเรียนเกี่ยวกับการรักษาตัวรอดและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ในเรื่องการหยุดรถและการ   ควบคุมตัวผู้อยู่ในรถ และการเข้าสู่อาคารสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โดยในการฝึกปฏิบัตินั้น ผู้เรียนแบ่งกลุ่มการฝึกปฏิบัติ แต่ละกลุ่มจะมีครูฝึกประจำกลุ่มระหว่างฝึก ครูฝึกจะเป็นผู้แนะนำวิธีการปฏิบัติ และหลังเสร็จสิ้นการเรียน การฝึกแต่ละครั้งจะสอบปฏิบัติ โดยครูฝึกจะเป็นผู้ประเมินความรู้ความเข้าใจ ซึ่งผู้เรียนต้องสามารถทำตามขั้นตอนได้ถูกต้องและครบถ้วนและให้ผู้เรียนสอบประเมินสรุปความรู้ส่งอาจารย์ผู้สอนทุกครั้ง
    วิชาการฝึกแบบตำรวจ มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางแบบฝึกพระราชทาน รัชกาลที่ 10 โดยมีโครงการสนับสนุนการฝึก คือ โครงการ “ยกระดับบุคลิกภาพ นรต. :Hero Forever “Look So Good”   ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ Hero Forever ในปีการศึกษา 2560 โดยให้นักเรียนนายร้อยตำรวจทุกชั้นปีที่มีดัชนีมวลกาย BMI เกินกว่ามาตรฐาน (อ้วน) เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีบุคลิกลักษณะที่ดี ร่างกายสมส่วน สง่างาม สามารถปฏิบัติตามแบบฝึกพระราชทานจนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภายในและภายนอก รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ อาทิ ภารกิจริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องราชสักการะเนื่องในวันสำคัญ
     วิชาพิสูจน์หลักฐาน มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอน โดยการเพิ่มเติมเนื้อหาเรื่อง การเขียนหนังสือนำส่งของกลางประเภทลายนิ้วมือแฝง เอกสาร อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ดีเอ็นเอ ยาเสพติดและสารพิษ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงาน     ได้จริง เนื่องจากพนักงานสอบสวนมักจะประสบปัญหาในการเขียนหนังสือนำส่งของกลาง    ทำให้เกิดปัญหากับผู้ตรวจพิสูจน์ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตํารวจ
    วิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจ จากเดิมชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น มีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบจากคณะสังคมศาสตร์เป็นคณะนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนให้มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านงานตำรวจไปประยุกต์ในชีวิตของผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยกำหนดให้มีการเรียนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และการใช้งานระบบสารสนเทศงานตำรวจ เช่น ระบบ POLIS  ระบบ CRIMES เป็นต้น
 
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามหลักสูตรและประเมินจากการสัมมนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตร  ผลจากการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนที่เด่นชัด ดังนี้
    วิชาภาษาอังกฤษ ได้นำกระบวนการเรียนรู้เรื่อง “แหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบโมดูลด้วยตนเอง” เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองในรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอย่างสถานการณ์จากการปฏิบัติหน้าที่จริงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ        มาฝึกฝนนักเรียนนายร้อยตำรวจ ให้สามารถสื่อสารโต้ตอบในสถานการณ์ต่างๆ และนำมาออกแบบสถานการณ์จำลองที่จำเป็น จัดทำเป็นคลิปเพื่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จากนั้นกำหนดกิจกรรมในชั้นเรียนและทำการประเมินผล หลังจากฝึกในแต่ละสถานการณ์พบว่านักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถสื่อสารได้ในเกณฑ์ดี รวมทั้งยังมีการบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น วิชาจิตวิทยา วิชาจริยธรรมตำรวจ วิชากฎหมาย เป็นต้น เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนนายร้อยตำรวจด้วย
    วิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ ได้นำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์สมมติเสมือนจริง“การเรียนด้วยประสบการณ์ตรง”ไปใช้ในการฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจให้กับหน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันสามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย และเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น
      -กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ส่งครูฝึกในสังกัดเข้ารับการฝึกยุทธวิธีตำรวจ เพื่อนำความรู้ไปสอนให้กับนักเรียนนายสิบตำรวจ
      -กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ส่งข้าราชการตำรวจเข้ารับการอบรมตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผชิญเหตุฉุกเฉินของข้าราชการตำรวจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ/ชุดจู่โจม ให้มีทักษะของการเข้าเผชิญเหตุในการเข้าตรวจค้นอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      -กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 ฝึกอบรมข้าราชการตำรวจ ตามโครงการพัฒนาความรู้ และเพิ่มทักษะทางยุทธวิธีแนวใหม่ด้านงานสืบสวน
 
 
5.1(1) - 01 - 01
5.1(1) - 01 - 02
5.1(1) - 01 - 03
5.1(1) - 01 - 04
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 02 - 05
5.1(1) - 02 - 06
 
 
 
 
 
5.1(1) - 02 - 07
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 02 - 08
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 02 - 09
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 10
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 11
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 12
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 13
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 14
 
 
 
 
5.1(1) - 03 - 15
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 04 - 16
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(1) - 04 - 17
 
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
1. ระบบและกลไก
    ในปีการศึกษา 2561 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะของรายวิชาในหลักสูตรและเพิ่มเติมสาระในรายวิชาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนำข้อมูลจากนักเรียนนายร้อยตำรวจและอาจารย์ผู้สอนมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อปรับเพิ่ม/ลดเนื้อหาของรายวิชานั้นๆ ให้ทันสมัย มีความครอบคลุม ไม่ซ้ำซ้อน สามารถเห็นถึงความต่อเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างวิชา และนำมาบูรณาการกับพันธกิจอื่นๆ รวมทั้งปรับกระบวนการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์จริงเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยเน้นทักษะความเชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายและวิชาชีพตำรวจ
 
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
    คณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุง/เพิ่มเติมสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย โดยเห็นชอบให้ปรับเพิ่มเนื้อหารายวิชาและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับจิตอาสา ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นประเด็นความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    หัวหน้าวิชาประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อนำผลจากรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ปีการศึกษา 2560 และผลการประเมินการสอนจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ มาวิเคราะห์วางแผนปรับสาระรายวิชาให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์กรณีศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
มีการประเมินกระบวนการ
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินความทันสมัยและความหลากหลายของรายวิชาในหลักสูตร ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจต่อการความทันสมัยและความหลากหลายของรายวิชาในหลักสูตร ที่ระดับคะแนน 4.00 ความ     พึงพอใจอยู่ในระดับมาก
 
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการปรับปรุงหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตรเพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
    วิชายิงปืน มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอน โดยปรับสถานการณ์จำลองให้เหมาะสมกับเนื้อหา และเวลาฝึกปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริงในปัจจุบันให้มากขึ้น มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเทคนิคอุปกรณ์การฝึกยิงปืน โดยใช้เครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง ซึ่งนักเรียนจะได้ฝึกการใช้อาวุธปืนและฝึกการเข้าเผชิญเหตุเสมือนสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมความตื่นเต้นได้ในการสอบการยิงกระสุนจริง
    วิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และความต้องการของนักเรียนนายร้อยตำรวจจาก        ปีการศึกษา 2560 โดยมุ่งเน้นการสาธิตและการฝึกปฏิบัติจริงในการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน เฝ้าระวัง และติดตามทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีการทดสอบความรู้ความเข้าใจในมิติของเนื้อหาทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียน   นายร้อยตำรวจได้นำไปใช้งานจริงตามสถานการณ์จำลอง และผู้สอนได้นำประสบการณ์ตรงจากที่ได้ร่วมปฏิบัติในภารกิจของคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต (TICAC) มาใช้เป็นกรณีศึกษาหลักในชั้นเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ถึงแนวทางในการปฏิบัติงานจริงได้เป็นอย่างดียิ่ง
    วิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร มีการปรับกระบวนการเรียนการสอน ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้ แบบ Project Based Learning โดยมอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการ (Project) ที่สามารถนำไปใช้ในงานวิชาชีพตำรวจ ภายหลังจากที่ได้ลงมือทำโครงการแล้ว ทำให้เกิดองค์ความรู้และแนวคิดสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิชาการ จากนั้นได้มีการนำผลงานจากการเรียนส่งเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ และได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการปฏิบัติงานในวิชาชีพตำรวจ เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวิชาชีพตำรวจ
    วิชาวิทยาการตำรวจก้าวหน้า มีการปรับเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ เสริมสร้างความรู้ใหม่ๆ หรือสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น การตรวจสารพันธุกรรมพืชจากสถานที่เกิดเหตุ ไบโอเม-ทริกซ์ การดำเนินการเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิทัลในคดีอาชญากรรมเว็บไซต์ใต้ดิน (Dark Web) การพัฒนาฐานข้อมูลเรื่องการจัดกลุ่มประเภทอาชญากรรมตามแนวทางสากล (UNODC) เป็นต้น นอกจากนี้มีการนำคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาสัมมนาในชั้นเรียนและเพิ่มทักษะทางไซเบอร์ ด้วยการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน อีกทั้งได้จัดให้มีการศึกษาดูงาน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการนำผู้เรียนไปศึกษาดูงานที่ 1) ศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 2) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จ.นครปฐม และ 3) กอง  พิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานตำรวจ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายและสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ความรู้เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการติดตามและตรวจสอบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจ จากนั้นจะจัดให้ผู้เรียนมีการสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อที่ไปศึกษาดูงาน
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
    วิชายิงปืน จากการฝึกยิงปืนแบบเดิม เป็นการฝึกความแม่นยำ ปรับเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้     อาวุธปืน และฝึกการเข้าเผชิญเหตุเสมือนสถานการณ์จริง เป็นการบูรณาการระหว่างการ     ยิงปืนและการฝึกยุทธวิธีตำรวจ กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน ซึ่งนักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง เกิดความชำนาญในการใช้อาวุธ มีทักษะในการใช้อาวุธปืน ทักษะในการเผชิญเหตุมากขึ้น สามารถควบคุมความตื่นเต้นได้  นอกจากนี้ การเรียนการสอนด้วยเครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง ยังใช้ในการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นอีกด้วย
    วิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จากการปรับการเรียนการสอนให้ทันสมัยส่งผลให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นโครงงานวิจัยและพัฒนาเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้จริงจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้เรียนได้จากการฝึกฝนทักษะความรู้จากวิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยนักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้เสนอโครงการวิจัยเรื่อง “การแสดงแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของพยานหลักฐานทางดิจิทัลจากข้อมูลเอ็กซิฟโดยใช้ไลบรารี่ของไพทอน” งานวิจัยเรื่องนี้มีความคิดที่ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหนึ่งในนั้นคือโทรศัพท์มือถือและกล้องถ่ายภาพ ซึ่งการถ่ายภาพในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่การบันทึกภาพที่ถ่ายไว้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพเหล่านั้นเอาไว้ด้วย เช่น สถานที่ วันที่ หรือเวลาที่ถ่ายภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า เมตาดาทา (Metadata) โดยเมตาดาทานี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายได้เป็นอย่างดี  หากแต่การที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้งานได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเพื่อแสดงข้อมูลดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นโครงงานวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแสดงตำแหน่งที่ตั้งของรูปภาพจากพยานหลักฐานของผู้กระทำความผิดบนแผนที่ด้วยไลบรารีของภาษาไพทอน (Python) และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเอ็กซิฟ (Exif) ของรูปภาพจากพยานหลักฐานของผู้กระทำความผิด โดยระบบดังกล่าวสามารถแสดงผลลัพธ์ได้ 4 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลประเภทคั่นด้วยคอมม่า ข้อมูลแผนที่ระบุตำแหน่งแบบจุด ข้อมูลแผนที่ระบุตำแหน่งแบบอุณหภูมิ และแผนภูมิแท่ง โดยโครงงานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นและต้องการนำโปรแกรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีที่มีพยานหลักฐานดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลตำแหน่งแผนที่จากรูปภาพมีความสำคัญทั้งในประโยชน์ของการเป็นพยานหลักฐาน และประโยชน์ในการสืบสวนขยายผลการกระทำความผิด เพื่อเชื่อมโยงไปยังข้อมูลของผู้กระทำความผิดในที่สุด โครงการวิจัยเรื่องนี้ได้รับการชื่นชมจากคณะกรรมการสอบโครงงานวิจัย และถือเป็นต้นแบบโครงงานวิจัยเรื่องแรกที่ใช้หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักการทางเทคนิคทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและสร้างโครงงานวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
      นอกจากนี้ คณาจารย์ได้คัดเลือกนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีทักษะทางไซเบอร์ดีเยี่ยม เพื่อเป็นผู้เรียนนำร่องในการเสริมทักษะและความรู้ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวความรู้หลัก ได้แก่ 1) หมวดความรู้ทางการโจมตีหรือทีมรุก (Red Team) ที่จะต้องใช้ความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม (Programming) การเข้ารหัสลับ(Cryptograph( การย้อนกลับ(Reversing) การเจาะระบบ (Exploitation) และการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics) และ 2) หมวดความรู้ทางการป้องกันหรือ    ทีมรับ (Blue Team) ที่จะต้องใช้ความรู้ทางด้านการเฝ้าระวัง (Monitoring) และการป้องกันระบบ (Protection) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านเทคนิคทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มากยิ่งขึ้น และเป็นตัวแทนสำหรับการแข่งขันทักษะทาง  ไซเบอร์ในระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ในระดับกองทัพต่อไป
    วิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร จากการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้ แบบ Project Based Learning โดยมอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการ (Project)   ที่สามารถนำไปใช้ในงานวิชาชีพตำรวจ ภายหลังจากที่ได้ลงมือทำโครงการแล้ว ทำให้เกิดองค์ความรู้และแนวคิดสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิชาการ และได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการปฏิบัติงานในวิชาชีพตำรวจ เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวิชาชีพตำรวจ จากนั้นนำผลงานจากการเรียนส่งเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ โดยมีนักเรียนนายร้อยตำรวจ 2 นาย ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA) ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 ซึ่งผู้เรียนได้รับแรง   บันดาลใจมาจากการทำโครงงานในวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร โดยได้ทำการวิจัยเรื่อง ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลแบบฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System)
 
5.มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
    คณาจารย์วิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้คัดเลือกนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ในระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ประจำปี 2561 โดยคัดเลือกตัวแทนนักเรียนนายร้อยตำรวจทั้งหมดจำนวน 12 นาย แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ซึ่งใช้รูปแบบการแข่งขันเป็นลักษณะการค้นหาธง (Capture The Flag : CTF) และแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 หมวดหลัก ได้แก่ หมวดการโจมตีหรือทีมรุก (Red Team) ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม (Programming) การเข้ารหัสลับ (Cryptography) การย้อนกลับ (Reversing) การเจาะระบบ (Exploitation) และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics) ในการแข่งขัน และหมวดการป้องกันหรือทีมรับ (Blue Team) ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านการเฝ้าระวังเครือข่าย (Network Monitoring) และการป้องกันระบบ (System Protection) ในการแข่งขัน ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีม Second HUNTER ได้อันดับ 2 ทำคะแนนได้ 3,368 คะแนน ทีม First HUNTER ได้อันดับ 3 ทำคะแนนได้ 3,288 คะแนน และทีม Third HUNTER ได้อันดับ 7 ทำคะแนนได้ 2,760 คะแนน       จากทีมผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 14 ทีม ดังแสดงรายละเอียดในตารางรายงานผลการแข่งขันต่อไปนี้
 
 
อันดับ ชื่อทีม สถาบัน คะแนน
1 Hungus โรงเรียนนายเรืออากาศฯ 4,480
2 Second HUNTER โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3,368
3 First HUNTER โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3,288
4 Pwnyou โรงเรียนนายเรืออากาศฯ 2,918
5 V1p3rRGB โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2,862
6 K0chr04CH โรงเรียนนายเรือ 2,812
7 Third HUNTER โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 2,760
8 HaCkMeifYoUc@N โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2,716
9 Complex Webster โรงเรียนนายเรืออากาศฯ 2,702
10 GetHeinzflyFlag โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2,650
11 ThePaladin.AFAPS2 โรงเรียนเตรียมทหาร 2,326
12 p4yl04d โรงเรียนนายเรือ 1,650
13 ThePaladin.AFAPS1 โรงเรียนเตรียมทหาร 1,578
14 ThePaladin.AFAPS3 โรงเรียนเตรียมทหาร 1,272
 
วิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร จากการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้ แบบ Project Based Learning ส่งผลให้ผู้เรียนได้ต่อยอดโครงงานเป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิชาการ จากนั้นนำผลงานจากการเรียนส่งเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ โดยมีนักเรียนนายร้อยตำรวจ 2 นาย ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA) ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 ซึ่งผู้เรียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากการทำโครงงานในวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร โดยได้ทำการวิจัยเรื่อง ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลแบบฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System) และได้ส่งผลงานดังกล่าวเข้าร่วมประกวด ณ ประเทศเกาหลี และได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางวิชาการ ลำดับที่ 3 ของผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวนทั้งหมด 6 ทีม ประกอบด้วย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศเกาหลี และประเทศไทย
 
 
5.1(2) - 01 - 01
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 02 - 02
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 02 - 03
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 03 - 04
 
 
 
 
 
5.1(2) - 03 - 05
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 03 - 06
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 03 - 07
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 04 - 08
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 04 - 09
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 04 - 10
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 04 - 11
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 05 - 12
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.1(2) - 05 - 13
 
 
 
 
 
ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
สาระของรายงวิชาในหลักสูตร 4 ระดับ 5 ระดับ 5 คะแนน ► สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย
 
รายการหลักฐาน
ที่ รายการหลักฐาน รหัสหลักฐาน แหล่งหลักฐาน
1 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 5.1(1) - 01 - 01 ศบศ.
2 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 5.1(1) - 01 – 02 ศบศ.
3 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 5.1(1) - 01 - 03 ศบศ.
4 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ.2558 5.1(1) - 01 - 04 ศบศ.
5 คำสั่ง รร.นรต. ที่ 701/2560 ลง 27 ธ.ค.2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รร.นรต. 5.1(1) - 02 - 05 ศบศ.
6 คำสั่ง รร.นรต. ที่ 254/2561 ลง 11 มิ.ย.2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 5.1(1) - 02 - 06 ศบศ.
7 มติที่ประชุม/ข้อสั่งการ การประชุมสภาการศึกษา รร.นรต. ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันอังคารที่ 20 ก.พ.2561 5.1(1) - 02 - 07 ศบศ.
8 หนังสือ นว.รร.นรต. ที่ 0035.5/1492 ลง 7 ส.ค.2561 5.1(1) - 02 - 08 นว.
9 ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2561 5.1(1) - 02 - 09 สปศ.
10 แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอบ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education : GE) 5.1(1) - 03 - 10 สค.
11 การสัมมนาวิชาการระดับชาติ “บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” 5.1(1) - 03 - 11 สค.
12 มคอ.3 วิชาการฝึกแบบยุทธวิธีตำรวจ 5.1(1) - 03 - 12 ศฝต.
13 มคอ.3 วิชาการฝึกแบบตำรวจ 5.1(1) - 03 - 13 ศฝต.
14 มคอ.3 วิชาการพิสูจน์หลักฐาน 5.1(1) - 03 - 14 นว.
15 มคอ.3 วิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจ 5.1(1) - 03 - 15 นว.
16 แหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบโมดูลด้วยตนเอง 5.1(1) - 04 - 16 สค.
17 เอกสารการให้ความรู้และเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ 5.1(1) - 04 - 17 ศฝต.
18 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 5.1(2) - 01 - 01 ศบศ.
19 มติที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2561 5.1(2) - 02 - 02 ศบศ.
20 ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นความทันสมัยและความหลากหลายของรายวิชาในหลักสูตร ปีการศึกษา 2561 5.1(2) - 02 - 03 สปศ.
21 มคอ.3 วิชาการยิงปืน 4
มคอ.5 รายวิชาการยิงปืน นรต.ชั้นปีที่ 4
5.1(2) - 03 - 04 ศฝต.
22 มคอ.3 วิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) 5.1(2) – 03 - 05 นว.
23 มคอ.3 วิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร 5.1(2) – 03 - 06 นว.
24 มคอ.3 วิชาวิทยาการตำรวจก้าวหน้า 5.1(2) – 03 - 07 นว.
25 ภาพประกอบการใช้เครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง 5.1(2) - 04 - 08 ศฝต.
26 โครงการวิจัยเรื่อง “การแสดงแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของพยานหลักฐานทางดิจิทับจากข้อมูลเอ็กซิฟโดยใช้ไลบรารี่ของ     ไพทอน” 5.1(2) - 04 - 09 นว.
27 ภาพกิจกรรมการแข่งทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร – ตำรวจ 5.1(2) - 04 - 10 นว.
28 กิจกรรม “แรงบันดาลใจแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Learning Innovation Inspiration for Smart Academy : LiiSa) 5.1(2) - 04 - 11 นว.
29 ภาพประกอบการรับรางวัลจากการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร – ตำรวจ 5.1(2) - 05 - 12 นว.
30 ภาพรางวัลจากการแข่งขันทางวิชาการในการทำวิจัยเรื่อง “ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลแบบฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behaviou Prediction System) ณ ประเทศเกาหลี 5.1(2) - 05 - 13 นว.