ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 | การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
การดำเนินงานในแต่ละประเด็น | หมายเลขเอกสาร |
---|---|
การกำหนดผู้สอน 1. มีระบบและกลไก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับรายวิชาที่สอน มีความรู้และความชำนาญในเนื้อหาวิชาที่สอน เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้เรียนกับอาจารย์ผู้สอนที่มีความชำนาญหลากหลาย และมีประสบการณ์ในวิชาการที่สอน โดยอาจารย์ผู้สอนประกอบด้วย 1) อาจารย์ประจำ พิจารณาแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจสายงานอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ 2) อาจารย์พิเศษ พิจารณาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการส่งรายชื่ออาจารย์ผู้สอน โดยให้อาจารย์ผู้ประสานรายวิชากับอาจารย์แต่ละกลุ่มสาขาวิชาพิจารณากำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาให้มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด - อาจารย์ผู้ประสานรายวิชาส่งรายชื่ออาจารย์ผู้สอนให้แก่คณะและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และโรงเรียนนายร้อยตำรวจออกคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ผู้สอนก่อนการเปิดภาคการศึกษา - ประเมินกระบวนการในภาพรวม - ปรับปรุงการดำเนินการกำหนดอาจารย์ผู้สอน |
5.2(1) - 1 - 01 5.2(1) - 1 – 02 5.2(1) - 1 - 03 |
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ก่อนเปิดภาคการศึกษา ศูนย์บริการทางการศึกษา จะมีหนังสือแจ้งคณะ, ศูนย์ฝึกตำรวจ และกองบังคับการปกครอง ให้พิจารณากำหนดผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับรายวิชาที่สอน และมีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาวิชาที่สอน ผลงานวิจัยหรือประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ โดยจัดส่งบัญชีรายชื่ออาจารย์ผู้สอนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม ก่อนดำเนินการเสนอผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจออกคำสั่งแต่งตั้งครู-อาจารย์ผู้สอนของหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้เรียนรู้กับผู้สอนที่มีความชำนาญหลากหลาย เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย โดยบางรายวิชาจะมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาเป็นอาจารย์พิเศษ และเชิญผู้มีประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพเฉพาะจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน มาให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในรายวิชานั้นๆ เช่น ในการเรียนการสอนแบบฝึกพระราชทาน ได้เชิญวิทยากรที่มีความชำนาญด้านการฝึกจากโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ มาทำการฝึกให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นต้น มีการประเมินกระบวนการ - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้จัดอาจารย์ผู้สอนตามระบบและกลไกที่กำหนด และได้มีการประเมินในประเด็นผู้สอนในรายวิชาต่างๆ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจที่ระดับคะแนน 4.11 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก |
5.2(1) - 2 - 01 5.2(1) - 2 – 02 5.2(1) - 2 – 03 5.2(1) - 2 – 04 |
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการปรับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ดังนี้ - วิชาฝึกแบบตำรวจ อาจารย์ผู้สอนได้มีการฝึกทบทวนตามโครงการฝึกทบทวนครูฝึก โดยใช้แบบฝึกพระราชทาน (โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์) ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนมีทักษะและความชำนาญตามแบบฝึกพระราชทาน เพื่อนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียนนายร้อยตำรวจ ตามคาดหวังของหลักสูตรได้ - วิชาภาษาอังกฤษ มีการกำหนดให้อาจารย์สอนแบบ Team teaching โดยให้อาจารย์ผู้สอนร่วมจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะภาษาอังกฤษที่นำไปใช้ในวิชาชีพได้จริง โดยทีมอาจารย์คณะสังคมศาสตร์ อาจารย์ต่างประเทศ และอาจารย์ศูนย์ฝึกตำรวจ ร่วมจัดสถานการณ์ในการฝึกบทบาทสมมติของการสื่อสารในวิชาชีพตำรวจในสถานการณ์ต่างๆ ให้สมจริง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการรับอาจารย์ผู้สอนที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ในการสอนของรายวิชาในคณะนิติวิทยาศาสตร์ เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำ อาทิ ในรายวิชาการพิสูจน์หลักฐาน และวิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ วิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้นำแนวทางการจัดการสอนในลักษณะของ Team Teaching เข้ามาร่วมด้วย และมีการคัดเลือกนักเรียนที่มีทักษะดีเยี่ยมทางด้านคอมพิวเตอร์มาเป็นผู้เรียนนำร่องในการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ มีอาจารย์เป็นครูพี่เลี้ยงในการทำฝึกการทดลองตามโจทย์ที่ให้ และส่งนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในโรงเรียนทหาร-ตำรวจ เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ทั้งนี้อาจารย์ที่เข้ามาใหม่จะเข้าร่วมกระบวนการเรียนการสอนคู่กับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเดิมทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้ดีมากยิ่งขึ้น |
5.2(1) - 3 – 01 5.2(1) - 3 – 02 5.2(1) - 3 - 03 |
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม - อาจารย์ผู้สอนรายวิชาฝึกแบบตำรวจ มีการประเมินตรวจสอบการฝึกในรายชั่วโมง มีการแยกฝึกเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่ยังปฏิบัติไม่ดี เพื่อให้มีทักษะที่ดีขึ้น และมีการตรวจสอบการฝึกในภาพรวมเพื่อให้การปฏิบัติถูกต้อง เข้มแข็ง พร้อมเพรียงจนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภายในและภายนอก และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ โดยมีภารกิจที่สำคัญๆ เช่น ภารกิจเฝ้ารับเสด็จพระอนุชาแห่งสมเด็จราชาธิบดีสาธารณรัฐมาเลเซีย, ภารกิจริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องราชสักการะ 12 สิงหา, ภารกิจวันปิยมหาราช และภารกิจกองเกียรติยศงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเชิญอาจารย์ไปบรรยายในโครงการสัมมนาเตรียมความพร้อมหลักสูตรนายสิบตำรวจ และไปเป็นกรรมการประกวดการฝึกของกองบัญชาการตำรวจนครบาลอีกด้วย - วิชาภาษาอังกฤษ การใช้ผู้สอนในลักษณะ Team ทำให้ผู้เรียนมีทักษะและมีความมั่นใจ สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยสามารถสร้างคลิปลักษณะ Role play เพื่อใช้แนะนำข้อมูลทางวิชาชีพเป็นภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งมีการปรับวิธีการประเมินโดยใช้ Rubric Score กับวิธีการสอนแบบ Team teaching เพื่อช่วยให้อาจารย์มีแนวทางการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน - รายวิชาในคณะนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการสอนในลักษณะของ Team teaching และนำหลักการของ LISA Model (Learning Innovation Inspiration for Smart Academy) เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ วิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร วิชานิติเวชศาสตร์ และวิชาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ประกอบกับปริมาณอาจารย์ที่มีเพิ่มขึ้นในคณะ ทำให้สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสร้างงานวิจัยเป็นของตนเอง และนำผลงานจากการเรียนส่งเข้าร่วมการแข่งขันผลงานทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ในระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจในระดับกองทัพ และการแข่งขันทางวิชาการมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA) ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี จนได้รับรางวัล |
5.2(1) - 4 - 01 5.2(1) - 4 – 02 5.2(1) - 4 – 03 5.2(1) - 4 – 04 |
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) 1. มีระบบและกลไก - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กำหนดปฏิทินการศึกษา และแจ้งกำหนดการส่งการจัดทำแผนการเรียนรู้ มคอ.3 และมีการติดตามตรวจสอบการส่ง มคอ.3 ของทุกรายวิชาให้เป็นไปตามกรอบเวลา - หน่วยงานที่รับผิดชอบการเรียนการสอนส่ง มคอ.3 ของทุกรายวิชา ให้แก่ศูนย์บริการทางการศึกษา - ประเมินกระบวนการ การส่ง มคอ.3 และกำกับดูแลการเรียนการสอนให้เป็นไปตามปฏิทินการศึกษา - ปรับปรุงปฏิทินการศึกษา และการจัดทำ มคอ.3 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน |
5.2(2) - 1 - 01 |
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน - ศูนย์บริการทางการศึกษา มีหนังสือแจ้งไปยังคณะ ศูนย์ฝึกตำรวจ และกองบังคับการปกครอง ให้ส่ง มคอ.3 ก่อนเปิดภาคการศึกษา 30 วัน โดยคณะและหน่วยที่รับผิดชอบในรายวิชา มีการดำเนินการให้อาจารย์ผู้ประสานรายวิชาทุกรายวิชา จัดทำประมวลการสอนรายวิชา (มคอ.3) ส่งก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาของปีการศึกษา 2561 - หน่วยงานที่รับผิดชอบการเรียนการสอนมีการประชุมตรวจสอบความเรียบร้อยของ มคอ.3 ในด้านเนื้อหาสาระรายวิชาให้ทันสมัย กิจกรรมการเรียน การวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับ มคอ.2 และกำหนดให้มีการประเมินการสอนและวิเคราะห์คุณภาพการสอนในมุมมองของผู้เรียน - มีการควบคุมการจัดส่ง มคอ.3 ให้ทันกำหนดก่อนเปิดภาคการศึกษา ตามที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจกำหนด และมีการติดตามการจัดทำรายละเอียดตาม มคอ.3 ของแต่ละรายวิชา โดยอาจารย์ผู้ประสานรายวิชาทุกรายวิชา มีรูปแบบการเขียน มคอ.3 ที่ชัดเจน เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้สอดคล้องกับ มคอ.2 และมีการกำกับติดตาม มคอ.3 โดยการส่งหนังสือติดตามเป็นระยะ เพื่อให้อาจารย์ส่งทันตามกำหนด และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาเป็นไปตามปฏิทินการศึกษาที่กำหนด มีการประเมินกระบวนการ - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่ระดับคะแนน 4.14 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก |
5.2(2) - 2 - 01 5.2(2) - 2 – 02 5.2(2) - 2 - 03 5.2(2) - 2 – 04 |
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน - อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีพิจารณาการปรับการจัดทำ มคอ.3 โดยให้อาจารย์ผู้ประสานงานและอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชานำไปปรับในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) วิธีการวัดและประเมินผล ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละรายวิชา เช่น บางวิชาจะสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว ในขณะที่บางวิชามีการสอบกลางภาค ทำรายงานหรือให้คะแนนการมีส่วนร่วม ซึ่งวิธีการวัดผลต้องสะท้อนและวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน และต้องเชื่อมโยงกับผลการเรียนรู้ในหลักสูตรตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ (Curriculum Mapping) (2) ควรปรับเปลี่ยนหน่วยที่รับผิดชอบการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจ จาก คณะสังคมศาสตร์ เป็น คณะนิติวิทยาศาสตร์ (3) ให้เพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจิตอาสา ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นประเด็นความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ - โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้กำหนดให้หน่วยที่รับผิดชอบการเรียนการสอนมีการดำเนินโครงการวิพากษ์ มคอ 3 ก่อนเปิดภาคการศึกษาทุกครั้ง ซึ่งทำการวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก เพื่อตรวจสอบและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการสอน การกำหนดวิธีการสอนเพื่อให้บรรลุ Learning outcome การกำหนดวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมและวัดได้จริง เน้นให้มีการใช้วิธีการสอนและการประเมินผลที่หลากหลาย โดยมุ่งให้เกิดผลตาม LO เป็นสำคัญ |
5.2(2) - 3 – 01 5.2(2) - 3 – 02 5.2(2) - 3 – 03 |
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม การประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร ครั้งที่ 2/2561 ให้อาจารย์แต่ละรายวิชาตรวจสอบความถูกต้องของ มคอ.3 โดยยึดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านให้พิจารณาคะแนนจิตพิสัย มติที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งที่ 10/2561 เห็นชอบให้โอนวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจ ให้คณะนิติวิทยาศาสตร์ เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนมีความพร้อมในด้านคุณวุฒิ ซึ่งอาจารย์สำเร็จการศึกษาสาขาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยตรง และเพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการต่อยอดในวิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย |
5.2(2) - 4 - 01 5.2(2) - 4 – 02 |
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1. มีระบบและกลไก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีประกาศกำหนดมาตรฐานภาระงานวิชาการของคณาจารย์ โดยมีการกำหนดด้านการทำวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ส่งเสริมการให้ทุนวิจัยแก่คณาจารย์เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ทำวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเมินกระบวนการ การบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนกับการวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการให้ครอบคลุม |
5.2(3) - 1 - 01 |
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการกำหนดมาตรฐานภาระงานวิชาการให้คณาจารย์ได้ภาระงานจากการทำวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการให้ทุนวิจัยกับอาจารย์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และนำความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการกับการเรียนการสอน การบูรณาการกับการวิจัย - คณาจารย์ขอทุนเพื่อทำวิจัยทั้งทุนภายในและภายนอกโรงเรียนนายร้อยตำรวจจำนวนหลายราย โดยนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการวิจัยมาแนะนำและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ในการทำโครงร่างวิจัย (ส่วนหนึ่งในการสอบวิชาชีพ) ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 - คณะนิติวิทยาศาสตร์จัดโครงการอบรมเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของห้องปฏิบัติการและการใช้งานกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด(Scanning Electron Microscope : SEM) เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีความเข้าใจในพื้นฐานการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสนใจการทำวิจัยเพื่อนำไปพัฒนางานในหน้าที่ของตนเองได้ในอนาคต - วิชาอาเซียนศึกษา ได้มีการบูรณาการโดยนำผลการวิจัยเรื่อง “การศึกษาการจัดการความขัดแย้งและการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในประเทศอาเซียน” ประกอบการเรียนการสอนในหัวข้อความท้าทายสู่ประชาคมอาเซียนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อประชาคมอาเซียน ให้ผู้เรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและผลการวิจัยที่ได้ว่าสอดคล้องกับองค์ความรู้และสถานการณ์ในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร - วิชาจิตวิทยาทั่วไป ได้มีการบูรณาการโดยนำกระบวนการและผลการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเด็กและเยาวชน” ให้ผู้เรียนวิเคราะห์กระบวนการวิจัยในหัวข้อระเบียบวิธีวิจัยทางจิตวิยา การบูรณาการกับการบริการทางวิชาการทางสังคม - รายวิชาสังคมวิทยา ได้มีการบริการวิชาการทางสังคม โดยมีโครงการสัมมนาวิชาการระดับชาติ “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสนับสนุนการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย” ซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการในหัวข้อ “ปัญหาสังคม” ด้วยการจัดบูธประชาสัมพันธ์เผยแพร่และรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้เท่าทันถึงภัยของยาเสพติด วิธีการที่อาชญากรใช้ในการเผยแพร่ยาเสพติด และวิธีการป้องกันตนเอง สมาชิกในครอบครัว และชุมชนของตน ให้ห่างไกลจากภัยยาเสพติด โดยให้ผู้เรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษากรณีตัวอย่างการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคอรัปชั่นให้กับประชาชนหรือนักเรียนในสถานศึกษา - คณะนิติวิทยาศาสตร์ ได้มีการบริการวิชาการทางสังคม โดยมีศูนย์ตรวจวัตถุพยานทางดิจิตอล เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมและเป็นศูนย์ตรวจพิสูจน์วัตถุพยานที่ตรวจยึดได้จากคณะทำงาน TICAC ที่มีความร่วมมือกันกับหลายประเทศ ซึ่งรายวิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ได้จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการให้บริการมาใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ คดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง คดีก่อการร้าย คดียาเสพติด คดีการล่วงละเมิดทางเพศและเยาวชนโดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น - วิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ ได้มีการบริการวิชาการทางสังคมด้วยการฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจให้กับหน่วยงานภายนอกที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ 1) โครงการฝึกอบรมยุทธวิธีเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้วยวิธีการปฏิบัติโดยสถานการณ์สมมติเสมือนจริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองของกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผชิญเหตุฉุกเฉินของข้าราชการตำรวจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ/ชุดจู่โจม ให้มีทักษะการเผชิญเหตุในการเข้าตรวจค้นอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพของกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 3) โครงการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะทางยุทธวิธีแนวใหม่ด้านงานสืบสวน ของกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 4) หลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่น 70” ของ กรุงเทพมหานคร และ กิจกรรม “บอกเพื่อน เตือนตน ใส่ใจภัยสังคม” ชุมชนโคกหัวถนน จ.สมุทรสาคร โดยฝึกปฏิบัติแก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เพื่อมุ่งเน้นทักษะด้านการปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้เข้าผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความเห็น - วิชาป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ยุทธวิธี การจราจรและความมั่นคง ได้มีการบริการวิชาการทางสังคม โดยการให้ความรู้และฝึกอบรมในนามของ สถาบันการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความปลอดภัย คณะตำรวจศาสตร์ และการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย ให้กับบุคคลภายนอกและหน่วยงานทั่วไป โดยมีผู้เข้ามารับการฝึกอบรม ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีผู้ให้ความสนใจเชิญไปจัดการฝึกอบรม ณ สถานที่ต่างๆ การบูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม - วิชาภาษาไทย มีการบูรณาการด้วยการนำโครงการประกวดสุนทรพจน์ มาประกอบการเรียนการสอนในหัวข้อ“ทฤษฎีการพูด” เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทดลองปฏิบัติในหัวข้อทักษะการพูด - วิชามวยไทย มีการบูรณาการด้วยการกำหนดให้มีการไหว้ครูมวยไทย ก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนรำลึกถึงคุณของบิดา-มารดา แผ่นดินเกิด และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย มีการประเมินกระบวนการ มีการประเมินในการบูรณาการการเรียนการสอนกับวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังนี้ - ผลจากการประเมินการบูรณาการกับการวิจัย ทำให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการวิจัย มีความกระตือรือร้นที่จะทำวิจัยเรื่องที่ตนเองสนใจมากขึ้น โดยจากผลการประเมินโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก - ผลการประเมินการบูรณาการกับการบริการวิชาการ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและแนวทางในการป้องกันปัญหา และมีตัวอย่างในการบริการวิชาการเพื่อรณรงค์ป้องกันปัญหาสังคมต่อไป - ผลการประเมินการบูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา และเห็นต้นแบบที่ดีในการใช้ภาษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ระดับคะแนน 4.03 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก |
5.2(3) - 2 - 01 5.2(3) - 2 - 02 5.2(3) - 2 - 03 5.2(3) - 2 - 04 5.2(3) - 2 - 05 5.2(3) - 2 - 06 5.2(3) - 2 - 07 5.2(3) - 2 - 08 5.2(3) - 2 - 09 5.2(3) - 2 – 10 5.2(3) - 2 – 11 5.2(3) - 2 - 12 |
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ผลจากคณาจารย์ได้ทำงานวิจัย และเป็นที่ปรึกษาโครงร่างวิจัยของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการนำขั้นตอนการวิจัย และผลของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนบรรยายให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจได้มีความรู้เรื่องกระบวนการวิจัย และผลของงานวิจัยที่เห็นเป็นรูปธรรมจากการเรียนการสอนคณาจารย์ได้เห็นถึงศักยภาพของนักเรียนนายร้อยตำรวจ จึงให้นักเรียนนายร้อยตำรวจร่วมทำงานวิจัยในหลายๆ งานวิจัย อาทิ o โครงการวิจัย เรื่อง อนาคตภาพหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจมุ่งสู่ความเป็นวิชาชีพในทศวรรษหน้า o โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างเทศบาลนครและสถานีตำรวจเพื่อยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม - วิชาทะเบียนประวัติอาชญากร มีการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับงานวิจัยที่เน้นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาร่วมกันในชั้นเรียน และการสอดแทรกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการให้สืบค้นเหตุการณ์ต่างๆ และยกตัวอย่างกรณีศึกษาเหตุการณ์สำคัญ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการอภิปราย จัดให้มีการสัมมนากลุ่มย่อย ทำให้ผู้เรียนมีความกล้า มีความเป็นผู้นำ มีความเสียสละ รู้จักค้นคว้าและคิดวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถต่อยอดเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้ |
5.2(3) - 3 – 01 5.2(3) - 3 – 02 5.2(3) - 3 – 03 |
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม - ผลจากการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากรกับการวิจัย โดยมอบหมายงานให้นักเรียนนายร้อยตำรวจแบ่งกลุ่มทำโครงงาน อาทิ กลุ่มของ นรต.เกริกไกวัล รวบยอด ได้จัดทำโครงงานเรื่อง ความเป็นไปได้ในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บอัตลักษณ์บุคคลออนไลน์ (Feasibility 0f Establishing Social Media Identification Database) ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจกลุ่มนี้สามารถพัฒนาและต่อยอดเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ ในมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA) ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี ในระหว่าง วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 ซึ่งผู้เรียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงงานในวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร โดยได้ทำการวิจัยเรื่อง ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลโดยฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System) |
5.2(3) - 4 - 01 |
5. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน - ผลจากการบูรณาการเรียนการสอนรายวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร แก่ นักเรียนนายร้อยตำรวจ ตามรูปแบบ Project Base Learning โดยมอบหมายให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานเพื่อใช้ในวิชาชีพตำรวจ ทำให้เกิดองค์ความรู้และแนวคิดสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิชาการ และแรงบันดาลใจจากโครงงานในวิชาการทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ทำการวิจัยเรื่อง ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลโดยฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System) จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการในมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA) ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี ในระหว่าง วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 โดยได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางวิชาการ ลำดับที่ 3 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 6 ทีม ประกอบด้วยสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศเกาหลี และประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นต่อๆ ไปสนใจและกระตือรือร้นในการพัฒนาวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านวิชาชีพตำรวจ |
5.2(3) - 5 – 01 |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | 4 ระดับ | 5 ระดับ | 5 คะแนน |
► สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน | แหล่งหลักฐาน |
---|---|---|---|
1 | การปรับปรุงแก้ไขคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์ | 5.2(1) – 1 -01 | สค. |
2 | หนังสือขอให้จัดส่งรายชื่ออาจารย์ประจำที่ทำการสอน นรต. ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 | 5.2(1) – 1 –02 | ศบศ. |
3 | หนังสือส่งรายชื่ออาจารย์ อาจารย์พิเศษ หลักสูตร นรต.ชั้นปีที่ 1-3ภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 | 5.2(1) – 1 –03 | ศบศ. |
4 | คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ผู้สอน นรต. ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 | 5.2(1) – 2 –01 | ศบศ. |
5 | คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ นรต. ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 | 5.2(1) – 2 - 02 | ศบศ. |
6 | หนังสือขอรับการสนับสนุนกรณีคณะครูฝึกจาก รร.ทม.รอ.มาเป็นวิทยากรฝึกแบบฝึกตำรวจให้แก่ นรต. | 5.2(1) – 2 - 03 | บก.ปค.. |
7 | ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นผู้สอนในรายวิชาต่างๆมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน | 5.2(1) – 2 - 04 | สปศ. |
8 | มคอ.3 วิชาฝึกแบบตำรวจ | 5.2(1) – 3 - 01 | บก.ปค. |
9 | มคอ.3 การใช้ภาษาอังกฤษ 2 | 5.2(1) – 3 - 02 | สค. |
10 | การเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ในระดับ รร.ทหาร-ตำรวจ | 5.2(1) – 3 - 03 | นว. |
11 | รายการภารกิจสำคัญที่ นรต.เข้าร่วม | 5.2(1) – 4 - 01 | ปค. |
12 | หนังสือส่งรายชื่อข้าราชการตำรวจเป็นกรรมการประกวดการฝึกของ บช.น.ประจำปี 2561 | 5.2(1) – 4 - 02 | บก.ปค. |
13 | ผลงานวิชาการเรื่องแรงบันดาลใจแห่งการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ (LISA Model) | 5.2(1) – 4 - 03 | นว. |
14 | ภาพรางวัลจากการแข่งขันทางวิชาการในการทำวิจัยเรื่อง “ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลแบบฉับพลัน” (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System) ณ ประเทศเกาหลี | 5.2(1) – 4 - 04 | นว. |
15 | หนังสือติดตามการส่ง มคอ.3 | 5.2(2) - 1 - 01 | ศบศ. |
16 | บัญชีสรุปการส่ง มคอ.3 | 5.2(2) - 2 - 01 | นว. |
17 | หนังสือส่ง มคอ.3 | 5.2(2) - 2 - 02 | ตศ. |
18 | ตัวอย่าง มคอ.3 | 5.2(2) - 2 - 03 | ตศ. |
19 | ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และ นรต.กระบวนการจัดการเรียนการสอน | 5.2(2) - 2 - 04 | สปศ. |
20 | รายงานการการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 วันจันทร์ที่ 28 พ.ค.2561 | 5.2(2) - 3 - 01 | ศบศ. |
21 | มคอ.3 วิชาเศรษฐกิจกับชีวิต และ มคอ.3 วิชาการเป็นพลเมือง | 5.2(2) - 3 - 02 | สค. |
22 | รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการวิพากษ์ มคอ.3 เพื่อปรับปรุงรายวิชาในหลักสูตร | 5.2(2) - 3 - 03 | สค. |
23 | รายงานการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 วันจันทร์ที่ 12 ต.ค.2561 | 5.2(2) - 4 - 01 | ศบศ. |
24 |
รายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ รร.นรต. ครั้งที่ 10/2561 |
5.2(2) - 4 - 02 | ศบศ. |
25 | ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของคณาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2559 | 5.2(3) - 1 - 01 | รร.นรต. |
26 | คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการทำโครงงานหรือวิจัยของ นรต. | 5.2(3) - 2 - 01 | ศบศ. |
27 | โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของห้องปฏิบัติการ และการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope : SEM) ประจำปีการศึกษา 2561 | 5.2(3) - 2 - 02 | นว. |
28 | มคอ.3 วิชาอาเซียนศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | 5.2(3) - 2 - 03 | สค. |
29 | มคอ.3 วิชาจิตวิทยาทั่วไป | 5.2(3) - 2 - 04 | สค. |
30 | มคอ.3 สังคมวิทยา | 5.2(3) - 2 - 05 | สค. |
31 | ภาพการให้บริการวิชาการโดยใช้ศูนย์ตรวจวัตถุพยานทางดิจิตอล | 5.2(3) - 2 - 06 | นว. |
32 | หนังสือขอรับการสนับสนุนวิทยากรและอาคารสถานที่ | 5.2(3) - 2 - 07 | ศฝต. |
33 | หนังสือรายงานผลการเป็นวิทยากรศึกษาอบรมหลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” รุ่นที่ 70 | 5.2(3) - 2 - 08 | ศฝต. |
34 | หนังสือรายงานผลการเป็นวิทยากรในกิจกรรม “บอกเพื่อน เตือนตน ใส่ใจภัยสังคม” | 5.2(3) - 2 - 09 | ศฝต. |
35 | โครงการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษา เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ | 5.2(3) - 2 - 10 | สค. |
36 | ภาพประกอบการเรียนวิชามวยไทย | 5.2(3) - 2 - 11 | ศฝต. |
37 | ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และ นรต.กระบวนการจัดการเรียนการสอน | 5.2(3) - 2 - 12 | สปศ. |
38 | โครงการวิจัย เรื่อง อนาคตภาพหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจมุ่งสู่ความเป็นวิชาชีพในทศวรรษหน้า พ.ศ.2562 – 2571 | 5.2(3) - 3 - 01 | ตศ. |
39 | โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างเทศบาลนครและสถานีตำรวจเพื่อยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม | 5.2(3) - 3 - 02 | ตศ. |
40 | ภาพการเรียนการสอน วิชาทะเบียนประวัติอาชญากร | 5.2(3) - 3 - 03 | นว.. |
41 |
โครงงานเรื่อง ความเป็นไปได้ในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บ อัตลักษณ์บุคคลออนไลน์ (Feasibility 0f Establishing Social Media Identification Database) |
5.2(3) - 4 - 01 | นว. |
42 | วิจัยเรื่อง ระบบการทำนายบุคลิกภาพและพฤติกรรมบุคคลโดยฉับพลัน (Instantaneous Personality and Behavior Prediction System) | 5.2(3) - 5 - 01 | นว. |