ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 | การประเมินผู้เรียน |
การดำเนินงานในแต่ละระดับ | หมายเลขเอกสาร |
---|---|
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 1. ระบบและกลไก - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กำหนดให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำรายละเอียดของการประเมินผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ระบุไว้ในหมวดที่ 4 (การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา) ในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 สำหรับการเรียนการสอนนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 , หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 สำหรับการเรียนการสอน นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที 1 - รายงานวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์การประเมินและผลการประเมินไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ซึ่งมีการประเมินตามสภาพจริงและเครื่องมือที่ใช้ประเมินมีความหลากหลาย ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 6 ด้าน - รายงานผลการประเมินไว้ในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) เพื่อเป็นการวัดความเข้าใจและสะท้อนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน - ให้นักเรียนนายร้อยตำรวจทำแบบประเมิน เพื่อวัดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและระดับความพึงพอใจในวิธีการสอนของทุกรายวิชา เพื่อเป็นการประเมินความเข้าใจในภาพรวมและนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป - จัดสอบวิชาชีพแก่ผู้เรียนก่อนจบการศึกษาตามหลักสูตร ให้แก่ นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 เพื่อตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนในภาพรวม (Comprehensive test) ว่ามีความรู้ความเข้าใจการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรสามารถบูรณาการ วิเคราะห์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามเป้าประสงค์ของสถาบันหรือไม่ 2. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้แต่ละคณะควบคุมและดำเนินการให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชา จัดทำรายละเอียดของการประเมินผลการเรียนรู้ในรายละเอียดของรายวิชา(มคอ.3) ซึ่งมีการประเมินตามสภาพจริงและเครื่องมือที่ใช้ประเมินมีความหลากหลาย สะท้อนสภาพการปฏิบัติงานจริง ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 6 ด้าน โดยมีหัวหน้าวิชาเป็นผู้กำกับ ติดตาม และตรวจสอบ ว่า วิธีการสอน วิธีการวัดและประเมินผล เป็นไปตามที่ระบุไว้และเป็นไปตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาหรือไม่ - อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาจะจัดทำรายงานผลการประเมินไว้ในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) เพื่อยืนยันว่า นักเรียนนายร้อยตำรวจทุกนายมีผลการเรียนรู้ครบทุกด้าน ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั้ง 6 ด้าน และศึกษาวิเคราะห์สรุปผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการวิชาการเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบวิชาชีพให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 เพื่อตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนในภาพรวม ประกอบด้วย การสอบภาควิชาการ และภาคการฝึก ตามที่กำหนดในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ซึ่งนักเรียนนายร้อยตำรวจต้องผ่านการสอบและได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพตำรวจ - ผลจากการตรวจสอบการประเมินผู้เรียนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้บริหารของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พบว่า ในปีการศึกษา 2561 มีรายวิชาที่ควรปรับปรุงการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิชายิงปืน วิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ และรายวิชาในคณะนิติวิทยาศาสตร์ มีการประเมินกระบวนการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้มีการประเมินกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจต่อการประเมินผลการเรียนรู้ที่ระดับคะแนน 4.25 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้กำหนดให้มีการเรียนการสอนแบบ Active Learning หรือการเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น เพื่อเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร การนำเสนอ ตลอดจนเกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านการปฏิบัติและกิจกรรม โดยกำหนดการวัดและเครื่องมือในการประเมินและวัดผล ดังนี้ 1. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด ความรู้ทักษะด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความเข้าใจ ความจำ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ได้แก่ ข้อสอบกลางภาคและปลายภาค แบบทดสอบ Pre-test และ Post-Test คะแนนจากการปฏิบัติและกิจกรรม “เกมส์ กริ๊ง แก๊ง” 2. การประเมินสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นวิธีการประเมินที่ออกแบบมาเพื่อสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมและทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในสถานการณที่เป็นจริงและเป็นวิธีการประเมินที่เน้นงานกิจกรรมที่ผู้เรียนได้แสดงออกโดยการกระทำ ความสามารถทางสติปัญญา กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ การสังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ การถาม-ตอบข้อสงสัย ตลอดจนความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการทบทวนความรู้และเสริมสร้างทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะ ปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านวิชาชีพตำรวจ 4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ผลจากการปรับปรุงกระบวนการประเมินผู้เรียนในแต่ละรายวิชา มีดังนี้ - วิชาภาษาอังกฤษ เน้นการประเมินในลักษณะ Formative test สามารถให้ข้อมูล/Feedback เน้นทักษะการเรียนรู้ และการประเมินภาคปฏิบัติ (performance assessment) ซึ่งประเมินจากผลงาน (product) และกระบวนการ (process) ทั้งแบบประเมินเป็นรายบุคคล ได้แก่ การประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจากสถานการณ์ที่กำหนด เช่น การรับแจ้งความ การรับแจ้งเหตุ 191และแบบประเมินเป็นกลุ่มคือ การผลิต clipภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ผู้สอนได้จัดทำ Rubric Score ซึ่งเป็นการให้คะแนนที่ต้องกำหนดมาตรวัด (Scale) และรายการของคุณลักษณะที่บรรยายถึงความสามารถในการแสดงออก หรือคุณลักษณะแต่ละจุดในมาตรวัดไว้ชัดเจน เพื่อระบุความสามารถของผู้เรียนและจำแนกผู้เรียนเก่ง-อ่อน ในกรณีผู้เรียนมีจุดอ่อนในทักษะประเด็นใด จะมีการให้ Feedback เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผลการใช้การประเมินผลวิธีนี้ พบว่าผู้เรียนสามารถสะท้อนความสามารถของตนเองได้ดี และผู้ประเมินสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการประเมินได้ทันที ช่วยให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้อย่างชัดเจนและยุติธรรม - วิชาการยิงปืน ได้ปรับวิธีการประเมินด้วยการใช้สถานการณ์จำลองใช้เครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง มาใช้ในการประเมินความรู้นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 ทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการใช้อาวุธปืนจริงในการสอบภาคปฏิบัตินักเรียนมีความมั่นใจในการใช้อาวุธปืนมากขึ้น ควบคุมความตื่นเต้นได้ สามารถทำตามขั้นตอนได้ถูกต้องตามที่กำหนดในแบบประเมิน ผลการสอบของนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีการกระจายของเกรดที่ดีกว่าปีการศึกษา 2560 - วิชาพิสูจน์หลักฐาน ได้นำการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาใช้ด้วยการสอนแบบใช้เกม (Games-based Learning) เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่เรียกว่า “แล็บกริ๊ง” ซึ่งมีรูปแบบการเรียนการสอนโดยจะแบ่งข้อสอบหรือโจทย์ออกเป็นสถานี สถานีละ 1 ข้อ มีเวลาทำข้อละประมาณ 1 นาที หลังจากนั้นจะมีสัญญาณดังกริ๊งขึ้นมา ทุกคนจะต้องขยับไปสถานีต่อไปทันที ดังนั้นเท่ากับว่า ผู้เรียนจะมีเวลาทำ คิด ขีด เขียนข้อสอบ แค่ข้อละ 1 นาที ซึ่งจะเกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ผู้เรียนจะเกิดความสุขในการเรียน โดยแนวทางประเมินผู้เรียน แบ่งเป็น 1). การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนจากการทำ แบบทดสอบแต่ละสถานี 2)การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงคุณภาพ ได้แก่ การที่อาจารย์ผู้สอนใน รายวิชาติดตามพัฒนาการของนักเรียน โดยการสังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและ มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ การถาม-ตอบข้อสงสัย ตลอดจนความกระตือรือร้นที่จะ ทำกิจกรรมต่างๆ วิชาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงานตำรวจมีการนำ “เกมส์” ที่เรียกว่า “kahoot” มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการถาม-ตอบออนไลน์ มีเวลาทำข้อสอบข้อละ 1 นาที โดยข้อคำถามจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสำนักงานอัตโนมัติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยทำการทดสอบในต้นชั่วโมงแรกของการสอน (Pre-test) และท้ายชั่วโมงของการสอน (Post-test) ช่วยให้นักเรียนมีความสนุกกับการเรียน รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการประเมินผล โดยการถาม-ตอบคำถาม การอภิปราย ซึ่งคำถามจะแสดงขึ้นที่จอหน้าชั้นเรียนและให้นักเรียนตอบคำถามบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยแนวทางประเมินผู้เรียน แบ่งเป็น 1) การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนจากการทำแบบทดสอบ Pre-test และ Post-test 2). การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงคุณภาพ ได้แก่ การที่อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาติดตามพัฒนาการของนักเรียน โดยการสังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ การถาม-ตอบข้อสงสัย ตลอดจนความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ วิชาตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีการฝึกปฏิบัติการเก็บวัตถุพยานประเภทต่างๆ ในสถานที่เกิดเหตุ เช่น วัตถุพยานด้านชีววิทยา วัตถุพยานประเภทรอยประทับ เป็นต้น และได้มีการฝึกปฏิบัติการตรวจสถานที่เกิดเหตุทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาที่เรียนได้มากขึ้น และเป็นการเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะแบ่งกลุ่มออกเป็น “5 กลุ่ม” หรือเรียกว่า “5แก๊งค์” แต่ละกลุ่มจะมีอาจารย์ประจำกลุ่มซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุจำลองเหตุการณ์ต่างๆ จากนั้นอาจารย์ประจำกลุ่มจะตรวจสอบขั้นตอนการฝึกปฏิบัติว่าเป็นไปตามหลักวิชาการหรือไม่ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งได้นำเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยมาใช้ในการฝึกตรวจสถานที่เกิดเหตุ เช่น เครื่องตรวจหาโลหะ เลเซอร์วัดระยะ ไฟฉายหลายความถี่ เป็นต้น โดยเครื่องมือต่างๆ จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้เป็นอย่างดี แนวทางประเมินผู้เรียน แบ่งเป็น 1)การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนจากการฝึกปฏิบัติ 2)การประเมินผลลัพธ์ของนักเรียนเชิงคุณภาพ ได้แก่ การที่อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาติดตามพัฒนาการของนักเรียน โดยการสังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ การถาม-ตอบข้อสงสัย ตลอดจนความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ |
5.3 - 1 - 01 5.3 - 1 - 02 5.3 - 1 - 03 5.3 - 1 – 04 5.3 - 1 – 05 5.3 - 1 – 06 5.3 - 1 – 07 |
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 1. ระบบและกลไก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินผล ซึ่งกำหนดไว้ใน หมวดที่ 5 ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 โดยมอบหมายให้แต่ละคณะดำเนินการ ดังนี้
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มอบหมายให้คณะแจ้งให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการ ดังนี้ 1.แจ้งการวัดผลการศึกษา เกณฑ์การตัดเกรด และแจ้งผลการตัดเกรดให้นักเรียนนายร้อยตำรวจรับรู้ชัดเจน และมีการกำหนดแบบฟอร์ม ตามแบบ 4 เพื่อใช้ส่งผลคะแนนไปยังงานทะเบียนและวัดผล ศูนย์บริการทางการศึกษา 2. ประชุมอาจารย์ผู้สอน เพื่อพิจารณาผลการเรียนรายวิชา ตรวจสอบคะแนน จากกระดาษคำตอบข้อสอบของนักศึกษาและงานที่มอบหมาย วิเคราะห์ข้อสอบ และเครื่องมือประเมินที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ 3. กำหนดให้มีการจัดทำแบบประเมิน เพื่อวัดความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และระดับความพึงพอใจในวิธีการสอนของทุกรายวิชา และการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หลังจบการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีการจัดสอบวิชาชีพแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 4 เพื่อตรวจสอบและประเมินผลนักเรียนในภาพรวมว่า มีความรู้ความเข้าใจ สามารถบูรณาการ วิเคราะห์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเป้าประสงค์ของสถาบันหรือไม่ ตลอดจนมีความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับรายวิชาของหลักสูตรที่จำเป็นต้องนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตหรือไม่ คณะมีการดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์และผลการเรียนรู้ เพื่อทวนสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา อย่างน้อย 25% ของรายวิชาในหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2560ซึ่งกำหนดให้ต้องมีกรรมการทวนสอบ 3 คน/รายวิชา มีการรายงานผลการทวนสอบถึงความสอดคล้อง ไม่สอดคล้อง และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงดังหัวข้อต่อไปนี้ 1. เนื้อหาการสอน มคอ.3 และ มคอ.5 เป็นไปตามแบบแผน 2. การวัดและประเมินผล 2.1 วิธีการวัดและประเมินผล วิธีการวัดและประเมินผลเป็นไปตามแบบแผน 2.2 ทวนสอบคะแนนและเกรด ประกอบด้วย 1) ทวนสอบคะแนนและเกรดไม่มี ความผิดปกติ และ 2) การประเมินผลสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา 3. มาตรฐานการเรียนรู้ 3.1 วิธีการประเมินผลทวนสอบจาก มคอ.3 หมวด 4 ส่วนที่เป็นวิธีการประเมินผล ในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้กับการวัดและประเมินผลจริงเป็นไปตามแบบแผน 3.2 คะแนนในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ ทวนสอบจาก มคอ.3 หมวด 5 ส่วน 2คะแนนในแต่ละมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้กับที่ได้ดำเนินการจริง เป็นไปตามแบบแผน 3.3 แผนการประเมินผล เป็นไปตามแบบแผน มีการประเมินกระบวนการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้มีการประเมินการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจต่อการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ มีความพึงพอใจที่ระดับคะแนน 4.00 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ผลจากการทวนสอบในรายวิชาตรวจพิสูจน์ที่เกิดเหตุ มีการปรับเปลี่ยนจากปี 2560 ในส่วนของคะแนนเก็บ โดยผู้สอนเพิ่มเติมการวัดผลจากคะแนนสอบปฏิบัติการเก็บวัตถุพยาน ประเภทรอยประทับ /การฝึกปฏิบัติการตรวจสถานที่เกิดเหตุภายในและภายนอกอาคาร และการทำรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และทีมงานผู้สอนเห็นตรงกันว่าควรเพิ่มการนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติ/การนำเสนอบทความหรือบทความวิจัยต่างประเทศ ในส่วนของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนั้น ผู้สอนจัดให้มีหัวข้อการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว มีการสอบเก็บคะแนน รวมถึงสังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งงาน การทำกิจกรรมกลุ่ม และส่วนของการเสริมสร้างทักษะวิจัย ผู้สอนมีการนำงานวิจัยมาบูรณาการเรียนการสอน ให้นักเรียนนายร้อยตำรวจค้นคว้าบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุมานำเสนอหน้าชั้นเรียน การจัดสอบวิชาชีพตำรวจ ของ นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 ภาคการฝึก ได้มีการปรับปรุงกระบวนการประเมินผลการสอบวิชาชีพ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการปรับการเรียนการสอนโดยเน้นการฝึกปฏิบัติด้วยการฝึกสถานการณ์สมมติเสมือนจริงให้ผู้เรียน ดังนั้น การประเมินผลการสอบวิชาชีพจึงได้เชิญตำรวจที่ปฏิบัติงานจริงที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านยุทธวิธีตำรวจจากนอกหน่วยมาเป็นวิทยากรและร่วมเป็นกรรมการสอบวิชาชีพตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดทำโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2561โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความเข้าใจการทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับหลักสูตรและระดับรายวิชา คณาจารย์มีความรู้ในการพัฒนาการศึกษา 2. ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 และหลักสูตรนิติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3. เพื่อให้อาจารย์มีความเข้าใจระบบการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา และแนวทางการพัฒนาศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ 4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม วิชาตรวจพิสูจน์หลักฐาน ผู้สอนได้กำหนดแนวทางการวัดผลตลอดภาคการศึกษา โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม ในส่วนของคะแนนเก็บ ได้แก่ (ก) การวัดผลจากคะแนนสอบ ปฏิบัติห้องปฏิบัติการ (Biological Trace Evidence) ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยให้เหตุการณ์สมมุติ พร้อมวัตถุพยานจำลองแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจในการทดสอบ โดยให้นักเรียนนายร้อยตำรวจใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และชุดน้ำยาตรวจพิสูจน์จริง อาจารย์ผู้ตรวจให้คะแนนจากการทำแล็ปและการรายงานผลตรวจ, (ข) มีการสอบการเขียนหนังสือนำส่งวัตถุพยาน และ (ค) มีการทดสอบ โดยให้ผู้เรียนดูวัตถุพยานแล้วตอบคำถามในเวลาจำกัด เรียกว่าสอบปฏิบัติจับเวลาหรือแล็ปกริ๊ง ซึ่งโดยปกติจะใช้ในคณะหรือสถาบันที่มีการเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในการนำมาใช้ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ นอกจากนี้ ผู้สอนมีการเพิ่มหัวข้อการบรรยายด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนนายร้อยตำรวจตระหนักเรื่องจรรยาบรรณในวิชาชีพพร้อมยกตัวอย่างและให้นักเรียนนายร้อยตำรวจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน และเพิ่มหัวข้อด้านการเสริมสร้างทักษะวิจัย (รายงาน/โปรเจค) ผู้สอนทบทวนการจัดการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาจนปัจจุบัน พบว่าจากการที่นักเรียนนายร้อยตำรวจได้มีโอกาสใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และชุดน้ำยาการตรวจพิสูจน์ (รุ่นแรกที่เปิดใช้) ประกอบกับการแนะนำพร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจแสดงความสนใจที่จะทำวิจัยหรือโปรเจคที่สามารถใช้เครื่องมือและชุดน้ำยาของห้องแลป เหล่านี้เป็นการกระตุ้นหรือสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสนใจการทำวิจัยมากยิ่งขึ้น ผลจากการการจัดสอบวิชาชีพตำรวจ ของ นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 ภาคการฝึก โดยเชิญตำรวจที่ปฏิบัติงานจริงที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านยุทธวิธีตำรวจจากนอกหน่วยมาเป็นวิทยากรและร่วมเป็นกรรมการสอบวิชาชีพตำรวจ ผลการประเมินผลการสอบวิชาชีพ |
5.3 – 2 – 01 5.3 – 2 – 02 5.3 – 2 – 03 5.3 – 2 – 04 5.3 – 2 – 05 |
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5, มคอ.6 และ มคอ.7) 1. ระบบและกลไก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีระบบในการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน (มคอ.5) โดยศูนย์บริการทางการศึกษา มีหนังสือแจ้งให้คณะที่รับผิดชอบรายวิชา มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดทำและส่งรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษา และรวบรวมนำเสนออาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้บริหารเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาถัดไป 2. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน - ศูนย์บริการทางการศึกษา มีหนังสือแจ้งให้คณะที่รับผิดชอบรายวิชา มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดทำและส่งรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษา เพื่อรวบรวมนำเสนอผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจและอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและใช้เป็นข้อมูลในการปรับหลักสูตร - คณะมอบหมายให้อาจารย์หัวหน้าวิชา ดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนภาคการศึกษา ภายใต้การกำกับ ติดตามของคณะ และดำเนินการรวบรวม ซึ่งอาจารย์หัวหน้าวิชาแต่ละวิชาต้องนำผลการจัดการเรียนการสอน (มคอ.5) ไปปรับปรุงหาแนวทางเพื่อจัดการเรียนการสอนในการจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ในปีการศึกษาถัดไป มีการประเมินกระบวนการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้มีการประเมินการจัดการเรียนการสอนผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจต่อการจัดการเรียนการสอน มีความพึงพอใจที่ระดับคะแนน 4.28 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดทำโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับหลักสูตรและระดับรายวิชา เข้าใจระบบการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา และแนวทางการพัฒนา รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับหลักสูตร ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อยกระดับการประเมินคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล 4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร เห็นชอบคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับหลักสูตร ซึ่งเป็นผลจากการสัมมนา และนำเสนอผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่ออนุมัติใช้ โดยให้หน่วยที่จัดการเรียนการสอนนำคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับหลักสูตรต่อไป |
5.3 – 3 – 01 5.3 – 3 – 02 5.3 – 3 – 03 5.3 – 3 – 04 5.3 – 3 – 05 |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การประเมินผู้เรียน | 3 ระดับ | 4 ระดับ | 4 คะแนน |
þ สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน | แหล่งหลักฐาน |
---|---|---|---|
1 | หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 และหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 | 5.3 - 1 - 01 | รร.นรต. |
2 | ตัวอย่าง มคอ.3 และ มคอ.5 | 5.3 - 1 - 02 | ศฝต. |
3 | ภาพกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ เกมส์ กริ๊ง แก๊งค์ | 5.3 - 1 - 03 | นว. |
4 | แบบรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ | 5.3 - 1 - 04 | ศฝต. |
5 | คำสั่งแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบความรู้วิชาชีพตำรวจ นรต.ชั้นปีที่ 4 | 5.3 - 1 - 05 | ศฝต. |
6 | บัญชีแสดงผลการสอบวิชาชีพตำรวจ นรต.ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา2561 | 5.3 - 1 - 06 | นว. |
7 | ภาพถ่ายเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ และสรุปวิธีประเมินผู้เรียน | 5.3 - 1 - 07 | นว. |
8 | การวัดผล- ประเมินผล วิชาภาษาอังกฤษสำหรับตรวจเพื่อการสื่อสาร | 5.3 - 1 - 08 | สค. |
9 | ภาพถ่ายเครื่องฝึกยิงจำลองสถานการณ์ ระบบ3 มิติและชุมชนจำลอง | 5.3 - 1 - 09 | ศฝต. |
10 | แบบประเมินพฤติกรรมตามผลการเรียนรู้ทักษะด้านวิชาชีพตำรวจ วิชาการยิงปืน | 5.3 – 1 – 10 | ศฝต. |
11 | แบบประเมินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ วิชายิงปืน | 5.3 - 2 - 01 | ศฝต. |
12 | หนังสือขออนุมัติใช้คู่มือทวนสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ | 5.3 - 2 - 02 | นว. |
13 | บัญชีสรุปการส่ง มคอ.3 และ มคอ.5 | 5.3 - 3 - 01 | นว. |
14 | ผลการประเมินความพึงพอใจ การจัดการเรียนการสอน | 5.3 - 3 - 02 | สปศ. |
15 | โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ | 5.3 – 3 -03 | รร.นรต. |
16 | หนังสือ อนุมัติคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ | 5.3 - 3 – 04 | สปศ. |
17 | คู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ | 5.3 – 3 – 05 | รร.นรต. |