เข้าชม : 15 |

ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๔ ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์
 
การดำเนินงานในแต่ละข้อ หมายเลขเอกสาร
ข้อที่ ๑ มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบ การประกันคุณภาพหลักสูตร
   
    ในระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๘ รร.นรต. มีหลักสูตร ๓ หลักสูตรด้วยกันคือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ ระบบประกันคุณภาพหลักสูตรจะมี ๒ ส่วนด้วยกันคือ การกำกับติดตามคุณภาพการทำงานอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกเดือนผ่านที่ประชุมบริหาร และมีการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรประจำปีละหนึ่งครั้งโดยใช้เกณฑ์ สกอ.
     ระบบกำกับคุณภาพหลักสูตรทั้ง ๓ หลักสูตรจะเริ่มจากการที่อาจารย์ประจำหลักสูตรของแต่ละหลักสูตร จะดำเนินการบริหารหลักสูตร วางแผนจัดการเรียนการสอนร่วมกันกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตร วิเคราะห์ติดตามการประเมินผลหลักสูตร ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร กำกับดูแลและให้คำแนะนำตลอดจนกำหนดนโยบายให้แก่อาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อนำไปบริหารวางแผนร่วมกันกับอาจารย์ผู้สอนของแต่ละคณะในการจัดการเรียนการสอน ทุกๆเดือนจะมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของคณาจารย์ให้กับ คณะกรรมการบริหาร รร.นรต. ได้รับทราบ หากหลักสูตรมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไข หรือ พัฒนาใดๆ จะมีการเสนอแก่คณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ เพื่อเตรียมการปรับปรุงให้หลักสูตรนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานที่กระทรวงศึกษากำหนด โดยมีสภาการศึกษาทำหน้าที่ให้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของรร.นรต.ในภาพรวม ความแตกต่างของลำดับขั้นตอนการกำกับดูแลคุณภาพของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจะมีการรายงานจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสู่ผบช. รร.นรต. โดยตรง จากนั้นจึงนำข้อพิจารณาเข้าสู่คณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการและสภาการศึกษา
     สำหรับระบบกำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา(สปศ.)นั้น สปศ.มีการจัดทำเกณฑ์โดยอิงจากเกณฑ์ของ สกอ. และปรับให้เข้ากับบริบทของ รร.นรต. โดยจะมีการจัดทำเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายในและนำเสนอเข้าที่ประชุมบริหาร, ที่ประชุมกลั่นกรอง และ สภาการศึกษา เมื่อเกณฑ์ประกันคุณภาพฯ ได้รับการอนุมัติจากสภาการศึกษาแล้ว สปศ. จะแจ้งให้แก่หน่วยทุกหน่วยรวมถึงอาจารย์ประจำหลักสูตร ทั้ง ๓ หลักสูตรได้รับทราบ ระหว่างปีการศึกษามีการจัดอบรมให้ความรู้แก่คณาจารย์ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อที่จะให้การดำเนินงานของหลักสูตรนั้นมีคุณภาพและเป็นไปตามข้อกำหนดของการประกันคุณภาพการศึกษา หลังจากสิ้นสุดปีการศึกษาในทุกๆปีจะมีการตรวจสอบการทำงานของ รร.นรต. และมีการนำเสนอผลการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับสถาบันและระดับหลักสูตรให้แก่ คณะกรรมการบริหาร, คณะกรรมการกลั่นกรอง, สภาการศึกษา และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามลำดับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๑ - ๐๑
 
 
๕.๔ - ๑ - ๐๒
 
 
 
๕.๔ - ๑ – ๐๓
 
๕.๔ - ๑ – ๐๔
๕.๔ - ๑ – ๐๕
 
 
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๑ – ๐๖
 
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๑ – ๐๗
 
ข้อที่๒ มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ ๑ และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
    รร.นรต.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ รร.นรต. และมีการแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยมีการระบุหน้าที่ให้ “ดำเนินการบริหารหลักสูตร วางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตร วิเคราะห์ติดตามการประเมินผลหลักสูตร ปรับปรุง และ พัฒนาหลักสูตร โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง” โดยมีงานพัฒนาหลักสูตร ฝ่ายพัฒนาการศึกษา ศูนย์บริการทางการศึกษา เป็นคณะทำงาน  สำหรับคณะกรรมการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง ๒ หลักสูตรในปีการศึกษา ๒๕๕๘ นั้น แต่ละคณะที่ทำการเปิดสอนจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร และ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ของแต่ละหน่วยซึ่งจะรายงานผลการดำเนินงานให้กับผู้บัญชาการ รร.นรต.โดยตรง หากมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมสภาการศึกษา รร.นรต. จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของหลักสูตรนั้นๆ
    การกำกับการดำเนินงานเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของแต่ละหลักสูตรใน รร.นรต. นั้น มีการรายงานผลการทำงานของทุกหน่วยให้กับคณะกรรมการบริหารทราบในเบื้องต้นเป็นประจำ มีการกำหนดให้ทุกหน่วยในสังกัด ส่งข้อมูลผลปฏิบัติงานในแต่ละเดือนที่จะชี้แจงทั้งในวาระเพื่อทราบ และ วาระพิจารณา จากนั้นคณะกรรมการบริหารจะมีข้อสั่งการเพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานของแต่ละหน่วย ตัวอย่างเช่น สรุปข้อสั่งการผู้บังคับบัญชาจากการประชุมบริหาร ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๘ ประเด็นที่ ๑๕ เรื่องการให้จัดคอร์สอบรมภาษาอังกฤษเป็นพิเศษแก่ นรต. และ ประเด็นที่ ๑๖ เรื่องการเปิดหลักสูตรระดับ ป.เอก หรือข้อสั่งการ จากที่ประชุมบริหารครั้งที่ ๗/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๘ ประเด็นที่ ๔ เรื่องการสร้างความสมดุลทั้งระบบการฝึกและการเรียนให้มีความสำคัญสองด้านเท่ากัน เพิ่มเติมจากเดิมที่มีการสั่งการให้ปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบ module และปรับเนื้อหาการสอนให้ทันสมัย ตามข้อสั่งการจากที่คณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ นอกจากการมีคำสั่งในการปรับปรุงหลักสูตร คณะกรรมการบริหารยังมีการพิจารณาทบทวนปรับอัตลักษณ์ของ รร.นรต.ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและนำเสนอสู่ที่ประชุมกลั่นกรอง เพื่อรอพิจารณาในลำดับต่อไป
    คณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการที่มีหน้าที่กำกับติดตามผลการดำเนินงานต่างๆของ รร.นรต. รวมถึงเรื่องของการปรับปรุงหลักสูตรและพิจารณาการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา พิจารณาทบทวนอัตลักษณ์ของ รร.นรต. เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๘ และ นำเสนอเรื่องเข้าสภาการศึกษา ครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ ในวันที่ ๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๘ ในการประชุมสภานั้นจะมีทั้งการรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร ผลการปรับปรุงหลักสูตร การรับรองวุฒิ ส่วนที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษานั้น สภาลงมติอนุมัติใช้คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และทบทวนตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของ รร.นรต. จากนั้น ได้รับผิดชอบตัวบ่งชี้และวางเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยต่างๆ ดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีระบบและมีผู้รับผิดชอบกำกับติดตามการทำงานอย่างชัดเจน จากนั้นมีคำสั่ง รร.นรต. ที่ ๕๑๒/๒๕๕๘ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ซึ่งได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรเสร็จสิ้นไประหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๕๘ มีการรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรอย่างครบถ้วน
    การกำกับดูแลให้หลักสูตรทุกหลักสูตรมีคุณภาพมีทั้งการกำกับการทำงานเป็นประจำทุกวงรอบเดือน และ การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นประจำในทุกปีการศึกษา มีการปรับปรุงแก้ไขดูแลอย่างใกล้ชิดทำให้หลักสูตรของ รร.นรต. ได้รับการยอมรับโดย สกอ. ได้พิจารณาตรวจสอบหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาการตำรวจแล้ว เห็นว่าโครงสร้างหลักสูตรและรายละเอียดของหลักสูตรมีมาตรฐานสอดคล้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๘ ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน กพ. รับรองวุฒิการศึกษาให้กับผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร รปศ.สาขาวิชาการตำรวจ
 
 
 
๕.๔ - ๒ - ๐๑
๕.๔ - ๒ – ๐๒
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๐๓
 
๕.๔ - ๒ – ๐๔
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๐๕
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๐๖
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๐๗
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๐๘
๕.๔ - ๒ – ๐๙
๕.๔ - ๒ – ๑๐
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๒ – ๑๑
๕.๔ - ๒ – ๑๒
ข้อที่ ๓ มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
    รร.นรต.ได้จัดสรรทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า และ ระดับสถาบันเป็นอย่างดีเสมอมา โดยอนุมัติงบประมาณในการจัดโครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปี และ การจัดระบบประกวดรางวัลคุณภาพการศึกษา การส่งข้าราชการเข้าร่วมอบรมถึงแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของการเชื่อมโยงตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิป (EdPex) รวมถึงการสนับสนุนจัดสรรงบประมาณให้เจ้าหน้าที่สำนักประกันคุณภาพการศึกษาได้ร่วมเข้าประชุมเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาฯ อีกด้วย
     รร.นรต. ยังมีการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของสำนักประกันคุณภาพการศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาโดยสนับสนุนให้ส่งคณาจารย์เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับ หลักสูตร คณะและสถาบัน ซึ่งทำให้ รร.นรต. มีผู้ประเมินที่ผ่านการอบรมจาก สกอ. โดยตรง และมีสนับสนุนงบประมาณให้มีการจัดการบรรยายความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ทั้งข้าราชการ คณาจารย์ และ นรต. รวมถึงการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวทางวิทยาการ
     อนึ่ง การจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของหลักสูตร รร.นรต. มีการมอบหมายหน้าที่การงานตามประกาศ รร.นรต. เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ เพื่อให้แต่ละส่วนได้มีการดำเนินงานตามหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลผลิตตามพันธกิจหลักของ รร.นรต.ในการผลิตตำรวจที่มีคุณภาพให้กับประเทศ  แต่ละหน่วยใน รร.นรต. มีพันธกิจที่ได้รับมอบหมายแตกต่างกัน เช่น ๓ คณะมีหน้าที่ดูแลเรื่องการเรียนการสอน ศฝต. เรื่องอบรมยุทธวิธี และ บก.ปค. เรื่องความเป็นอยู่และวินัยของ นรต. ซึ่งแต่ละหน่วยได้รับเงินสนับสนุนตามงบประมาณประจำปี รายการค่าใช้จ่ายปกติ รวมแล้วจำนวนประมาณ ๓๐ ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละหน่วย (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอีก ๖๘ ล้านบาท) และ ค่าใช้จ่ายลงทุนประมาณ ๔๔ ล้านบาท
     ในด้านของทรัพยากรบุคคล รร.นรต. มีคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์และครูผู้สอน นรต. ทุกชั้นปี ทุกภาคเรียน โดยจัดสรรผู้สอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาและความเชี่ยวชาญในวิชานั้นๆ   
 
 
๕.๔ – ๓ – ๐๑
๕.๔ – ๓ – ๐๒
๕.๔ – ๓ – ๐๓
๕.๔ – ๓ – ๐๔
๕.๔ – ๓ – ๐๕
 
 
 
 
 
๕.๔ – ๓ – ๐๖
๕.๔ – ๓ – ๐๗
๕.๔ – ๓ – ๐๘
๕.๔ – ๓ – ๐๙
 
 
 
๕.๔ – ๓ – ๑๐
 
 
 
 
 
 
 
๕.๔ – ๓ – ๑๑
 
๕.๔ – ๓ – ๑๒
ข้อที่ ๔ มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมินให้กรรมการระดับสถาบันพิจารณา  และเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาต่อไป 
     รร.นรต.มีการทำการสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตรวจ ต่อการดำเนินการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของ รร.นรต.เป็นประจำทุกปี และมีการส่งผลการประเมินแจกจ่ายให้ทุกหน่วยได้ทราบ
    ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรที่เปิดสอนใน รร.นรต. ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรบัณฑิต (สาขาวิชาการตำรวจ) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานิติวิทยาศาสตร์) ได้นำเสนอผลต่อสภาการศึกษาอยู่ในเล่มรวมรายงานประจำปี รร.นรต. ๒๕๕๘ และ มีการนำเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีกด้วย
 
 
 
๕.๔ - ๔ - ๐๑
 
 
๕.๔ - ๔ – ๐๒
๕.๔ - ๔ – ๐๓
 
ข้อที่ ๕ นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    มีการนำข้อแนะนำของคณะกรรมการตรวจประเมินในปีการศึกษา ๒๕๕๘ เข้าที่ประชุมเชิงรุกเมื่อ ๑๒ ม.ค. ๕๙, คณะกรรมการบริหาร รร.นรต. จากนั้นได้นำข้อเสนอแนะเข้าสู่สภาการศึกษา มติที่ประชุมทั้ง ๓ เห็นชอบให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำและได้สนับสนุนงบประมาณให้หน่วยได้ปรับปรุง จากนั้น สปศ.รร.นรต. ได้ติดตามผลการปรับปรุงตามที่ได้ชี้แจงไว้ใน หนังสือ สปศ. ที่ ๐๐๓๕.๙/๑๘๓ ลง ๒๙ เม.ย. ๕๙ ส่งไปยังหน่วยต่างๆใน รร.นรต. และได้รายงานผลการปรับปรุงให้ ผบช.ทราบในวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๙  ตัวอย่างที่ ๑ รร.นรต. ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิทยาการซึ่งเกี่ยวกับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์และการจัดทำ มคอ. ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ สกอ.
      ตัวอย่างที่ ๒ หน่วยที่มีการจัดการเรียนการสอนทั้ง ๕ หน่วย ควรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาที่เปิดสอนอย่างน้อยร้อยละ ๒๕
      -รร.นรต.ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
และ ได้ดำเนินการประเมินผลการทวนสอบตามแบบประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง ๕ ด้านตามกรอบ มคอ. แล้ว มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ จำนวน ๒๘ รายวิชา จากวิชาที่เปิดสอนตลอดปีการศึกษาและมีหน่วยกิต จำนวน ๙๓ รายวิชา คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๑๑ (รายละเอียดอยู่ในแฟ้มการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของ รร.นรต.)
 
 
 
๕.๔ - ๕ – ๐๑
 
 
 
 
 
 
๕.๔ - ๕ – ๐๒
 
 
๕.๔ - ๕ – ๐๓
 
ข้อที่ ๖ มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐาน
    ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐานทั้ง ๓ หลักสูตร
 
 
 
 
ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร ๓ ข้อ ๖ ข้อ
 
๕ คะแนน þ สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย
 
รายการหลักฐาน
ที่ รายการหลักฐาน รหัสหลักฐาน แหล่งหลักฐาน
คำสั่ง รร.นรต. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ๕.๔ - ๑ - ๐๑ รร.นรต.
คำส่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ๕.๔ - ๑ - ๐๒ รร.นรต.
การประชุมกรรมการบริหาร ๕.๔ - ๑ - ๐๓ รร.นรต.
ข้อบังคับ รร.นรต. ว่าด้วยคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ รร.นรต. พ.ศ.๒๕๕๓ ๕.๔ - ๑ - ๐๔ บก.อก.
พรบ. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (มาตรา ๑๒) ๕.๔ - ๑ – ๐๕ ราชกิจจานุเบกษา
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ๕.๔ - ๑ - ๐๖ รร.นรต.
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๕.๔ – ๑ - ๐๗ รร.นรต.
คำส่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ๕.๔ - ๒ - ๐๑ รร.นรต.
คำสั่ง รร.นรต. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ๕.๔ - ๒ - ๐๒ รร.นรต.
๑๐ ขออนุมัติกำหนดวันประชุมคณะกรรมการบริหาร รร.นรต. และคำสั่งการของ ผบช.รร.นรต. ๕.๔ - ๒ - ๐๓ รร.นรต.
๑๑ สรุปข้อสั่งการผู้บังคับบัญชา การประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๗/๒๕๕๘ ๕.๔ - ๒ - ๐๔ รร.นรต.
๑๒ สรุปข้อสั่งการผู้บังคับบัญชา การประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ ๕.๔ - ๒ - ๐๕ รร.นรต.
๑๓ เชิญประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ ๕.๔ - ๒ - ๐๖ รร.นรต.
๑๔ ระเบียบวาระการประชุมสภาการศึกษา รร.นรต. ครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ วันที่ ๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๘ ๕.๔ - ๒ – ๐๗ รร.นรต.
๑๕ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๕.๔ - ๒ - ๐๘ รร.นรต.
๑๖ รายงานผลการประเมินหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการตำรวจ) ๕.๔ - ๒ - ๐๙ รร.นรต.
๑๗ รายงานผลการประเมินหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานิติวิทยาศาสตร์) ๕.๔ - ๒ – ๑๐ นว.
๑๘ หนังสือรับรองจาก สกอ. ๕.๔ - ๒ – ๑๑ สกอ.
๑๙ หนังสือรับรองคุณวุฒิจาก กพ. ๕.๔ - ๒ – ๑๒ กพ.
๒๐ รายงานประจำปี รร.นรต. ๒๕๕๘ ๕.๔ - ๓ - ๐๑ สปศ.
๒๑ พิจารณาลงนามโครงการสัมมนาและตรวจประเมินฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๕.๔ - ๓ - ๐๒ สปศ.
๒๒ รายงานประจำปี รร.นรต. ๒๕๕๘ ๕.๔ - ๓ - ๐๓ รร.นรต.
๒๓ การเข้าร่วมอบรม EdPex ๕.๔ - ๓ - ๐๔ รร.นรต.
๒๔ รายงานการประชุมเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา ๕.๔ - ๓ - ๐๕ ศบศ.
๒๕ ขอเชิญเข้าร่วมอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะ และ สถาบัน ๕.๔ - ๓ - ๐๖ รร.นรต.
๒๖ มอบหมายหน้าที่ในการบรรยายให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพ ๕.๔ - ๓ - ๐๗ บก.อก.
๒๗ ภาพประกอบ ๕.๔ - ๓ - ๐๘ รร.นรต.
๒๘ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ๕.๔ - ๓ - ๐๙ สปศ.
๒๙ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใน รร.นรต. ๕.๔ - ๓ – ๑๐ บก.อก.
๓๐ ขออนุมัติแผนการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ๕.๔ - ๓ – ๑๑ รร.นรต.
๓๑ คำสั่งแต่งตั้งครูอาจารย์ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๕.๔ - ๓ – ๑๒ สปศ.
๓๒ ผลการสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตรวจ ต่อการดำเนินการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของ รร.นรต. ๕.๔ - ๔ - ๐๑ รร.นรต.
๓๓ รายงานผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพหลักสูตร (อยู่ในรายงานประจำปี ๒๕๕๘) ๕.๔ - ๔ - ๐๒ รร.นรต.
๓๔ รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา๒๕๕๗ ๕.๔ - ๔ - ๐๓ รร.นรต.
๓๕ การติดตามผลการดำเนินงานตามคำแนะนำของคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ๕.๔ - ๕ - ๐๑ สปศ.
๓๖ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ๕.๔ - ๕ - ๐๒ ศบศ.
๓๗ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ๕.๔ – ๕ - ๐๓ รร.นรต.