เข้าชม : 21 |

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ การบริการวิชาการแก่สังคมระดับสถาบัน
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
เกณฑ์มาตรฐาน
๑. กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
๒. จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ ๑
๓. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน
๔. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๕. สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
๖. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ ๒  โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ
 
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน ๔ คะแนน ๕
มีการดำเนินการ
๑ ข้อ
มีการดำเนินการ
๒ ข้อ
มีการดำเนินการ
๓ – ๔ ข้อ
มีการดำเนินการ
๕ ข้อ
มีการดำเนินการ
๖ ข้อ
 
ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์ การดำเนินงานใจแต่ละข้อ หมายเลขเอกสาร
ข้อที่ ๑ กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
      ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ตรวจสอบการดำเนินงานพบว่าโครงการกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพมีจำนวนน้อย  และได้รับการร้องขอจากโรงเรียนบ้านสามพราน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนใกล้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  อยากให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งดูแลสุขภาพนักเรียนนายร้อยตำรวจได้เป็นอย่างดี นักเรียนนายร้อยตำรวจมีร่างกายแข็งแรง   ช่วยเหลือจัดกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนในโรงเรยนบ้านสามพราน จึงได้เชิญอาจารย์ใน รร.นรต.ร่วมประชุมหาแนวทางในการดำเนินการ
      ในปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๖ โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจสู่องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ “SMART Academy  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ อาจารย์ บุคลากร และประชาชนใกล้เคียงโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ด้วยการดำเนินการตามหลัก G-SMART Model  คือ Good Social, Good Mind, Good Action, Good Relationship และ Good Team work  โครงการสามารถสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เกิดแกนนำนักเรียนนายร้อยตำรวจเป็นอาสาสมัครสร้างเสริมสุขภาพ “Smart Hero” นับเป็นต้นแบบและผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน  รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิทัศน์ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
     ต่อมา  โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้จัดทำโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network)  เมื่อ  พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๗   เพื่อขยายแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพสู่ภาคีเครือข่ายของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  โรงเรียนนายเรือ  และโรงเรียนนายเรืออากาศ   โดยเน้นการปรับทัศนคติและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลด ละ  เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่  ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการระบบ/กลไกการสร้างเสริมสุขภาพตามบทบาทของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพทั้งในระดับของสถาบันและระดับท้องถิ่น/ชุมชน  กระดับการทำงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจในรูปแบบเครือข่าย โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ระหว่างเครือข่าย อันจะสามารถเป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้แก่สถานศึกษาอื่นได้
     เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนของการพัฒนาสู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ – องค์กรสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายแนวคิด  สร้างความตระหนัก  และพัฒนาทักษะศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่เป็นเครือข่าย  ตลอดจนชุมชนและผู้สนใจ  โรงเรียนนายร้อยจึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : แหล่งเรียนรู้เพื่อการขยายผลและการสร้างเสริมสุขภาวะ”  โดยขยายเครือข่ายไปสู่  สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและชุมชนทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายเรืออากาศ
 
 
๓.๒ - ๑ - ๐๑
 
 
 
ข้อที่ ๒ จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ ๑
     การดำเนินการโครงการในข้อ ๑ ได้วางแผนการดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ประชาสัมพันธ์โครงการ และอบรมเชิงปฏิบัติการแกนำในเครือข่าย
ระยะที่ ๒ ดำเนินกิจกรรม ๗H ของโครงการใน รร.นรต. และ รร.เครือข่าย
ระยะที่ ๓ เครือข่ายหลักขยายแหล่งเรียนรู้ไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
     มีการประชุมชี้แจงทีมงาน กำหนดบทบาทของทีมงาน จัดทำคู่มือ แผ่นพับ และจัดทำ commentary ฉบับที่ ๑ เพื่อประชาสัมพันธ์ ประสานงานไปยังเครือข่ายเดิม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมส่งหนังสือเชิญโรงเรียนเหล่าทัพ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และชุมชนในจังหวัดนครปฐมเข้าร่วมโครงการ  จัดทำรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ เช่น สรุปผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการถ่ายทอดความรู้  และการสร้างเสริมเครือข่ายเพื่อการขยายผลและการสร้างเสริมสุขภาวะ  กิจกรรม SMART HEALTHY MOVE สามพรานชุมชนน่าอยู่ เป็นต้น
 
 
๓.๒ - ๒ - ๐๑
 
ข้อที่ ๓ ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน
     ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดนวัตกรรม องค์ความรู้ เครื่องมือ/คู่มือที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรในโรงเรียนทั้ง ๔ เหล่าทัพ ที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพได้ จำนวน ๓๒ ผลงาน ซึ่งแต่ละกิจกรรมของโครงการทั้งที่ดำเนินการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจและโรงเรียนเหล่าที่เป็นเครือข่ายสอดรับกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยพัฒนาต่อยอดกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จสู่นวัตกรรมต้นแบบที่สามารถป้องกันและสร้างเสริมสุขภาวะที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีและถูกต้องในสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ตรงตามหลัก G-SMART แบ่งกิจกรรมหลักเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) SMART Academy  ๒) SMART Innovation  ๓) SMART Network จนเกิดการต่อยอดเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายแนวคิด  สร้างความตระหนัก  และพัฒนาทักษะ-ศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่เป็นเครือข่าย  ตลอดจนชุมชนและผู้สนใจ
 
 
๓.๒ - ๓ - ๐๑
ข้อที่ ๔ ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
     ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ในการสร้างกิจกรรม  เขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงาน องค์กรท้องถิ่น  เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากโครงการฯ  เช่น  โครงการเต้นรำออกกำลังกายด้วยท่าเต้นรำบาสโลบ  โดยเทียบเคียงหรือลอกเรียนแบบโครงการโยคะเพื่อสุขภาพ ที่โรงเรียนนายร้อยตำรจได้จัดทำขึ้น    
 
๓.๒ - ๔ – ๐๑
ข้อที่ ๕ สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
      Community พลังเครือข่ายลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สร้างชุมชนน่าอยู่” โดยความร่วมมือของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนาคประสิทธิ์ ชมรมคนขับรถตู้โรงเรียนนาคประสิทธิ์ ชุมชนวัดบางช้างเหนือ และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. เพื่อสร้างเครือข่ายความดีพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่และเหล้า สร้างวิถีชีวิตสุภาพดี ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้จัดกิจกรรม “SMART Network SMART Community”  
 
 
๓.๒ - ๕ – ๐๑
ข้อที่ ๖ ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ ๒  โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ
     โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีอาจารย์ ๙๔ คน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการตามข้อ ๑ และคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วย อาจารย์จาก ๓ คณะ รวม ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๐๒ นอกจากนี้ยังมีบุคลากร ในสังกัดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประกอบด้วยฝ่ายการฝึก  ฝ่ายปกครอง และฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนอีกหลายหน่วยร่วมดำเนินโครงการในครั้งนี้
 
 
 
๓.๒ - ๖ - ๐๑
 
ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
การบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ ๕ ข้อ ๖ ข้อ
 
 ๕ คะแนน þ สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย
รายการหลักฐาน
ที่ รายการหลักฐาน รหัสหลักฐาน แหล่งหลักฐาน
โครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : แหล่งเรียนรู้เพื่อการขยายผล  และการสร้างเสริมสุขภาวะ ๓.๒ - ๑ - ๐๑
 
นว.
แผนการดำเนินงานและระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ ๓.๒ - ๒ - ๐๑ นว.
บทสรุปของโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) ๓.๒ - ๓ - ๐๑ นว.
กิจกรรมสำรวจบริบทชุมชนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ๓.๒ - ๔ - ๐๑ นว.
กิจกรรม SMART Network SMART Community พลังเครือข่ายลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สร้างชุมชนน่าอยู่ ๓.๒ - ๕ - ๐๑ นว.
คำสั่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ ๔๕๖/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๕๘  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : แหล่งเรียนรู้เพื่อการขยายผล และการสร้างเสริมสุขภาวะ ๓.๒ - ๖ - ๐๑ นว.