การดำเนินงานในแต่ละประเด็น | หมายเลขเอกสาร |
---|---|
การกำหนดผู้สอน - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งครู-อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาในหลักสูตรทุกภาคการศึกษา โดยก่อนเปิดภาคการศึกษา ศูนย์บริการทางการศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งครู-อาจารย์ผู้สอนของหลักสูตร จะมีหนังสือแจ้งคณบดีแต่ละคณะ, ศูนย์ฝึกตำรวจ และกองบังคับการปกครอง ให้พิจารณากำหนดผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับรายวิชาที่สอน และมีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาวิชาที่สอนหรือประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ โดยจัดส่งบัญชีรายชื่อครู-อาจารย์มาให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม ก่อนดำเนินการเสนอผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจออกคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้เรียนรู้กับผู้สอนที่มีความชำนาญหลากหลาย เพื่อให้มีโอกาสได้รับการพัฒนามุมมองหรือความคิดจากผู้สอน บางรายวิชาจะมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาเป็นอาจารย์พิเศษ และเชิญผู้มีประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพเฉพาะจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน มาบรรยายให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในรายวิชานั้นๆ - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินในประเด็นผู้สอนในรายวิชาต่างๆ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจที่ระดับคะแนน ๔.๑๐ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีกระบวนการปรับปรุงผู้สอนในรายวิชามวยไทย โดยได้จัดทำโครงการฝึกทักษะเพิ่มเติมเสริมวิชามวยไทย โดยได้เชิญทีมงานไทยไฟต์มาฝึกสอนให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านร่างกาย และเพิ่มทักษะและเทคนิคพิเศษในการต่อสู้ป้องกันตัว ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพิ่มเติมนอกเหนือจากการฝึกตามปกติและมีการเสริมแรงจูงใจในการฝึก โดยจัดให้มีการทดสอบและสอบวัดระดับความสามารถเป็นระยะๆ และมีการสอบการชกแข่งขันจริง เป็นการใช้ทักษะวิชามวยไทย เพิ่มเติมทักษะการต่อสู้ และเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจอย่างแท้จริง ซึ่งผลจากการประเมินการเรียนกับผู้สอนดังกล่าว นักเรียนนายร้อยตำรวจมีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด โรงเรียนนายร้อยตำรวจจึงได้จัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยในขอบเขตรายวิชาให้เพิ่มเติมหัวข้อการประยุกต์ใช้ทักษะมวยกับชีวิตประจำวันและวิชาชีพตำรวจ ตามประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ โดยจัดทำเป็นโครงการต่อเนื่อง |
๕.๒ - ๑ - ๐๑ ๕.๒ - ๑ - ๐๒ ๕.๒ - ๑ - ๐๓ ๕.๒ - ๑ - ๐๔ ๕.๒ - ๑ - ๐๕ ๕.๒ - ๑ - ๐๖ |
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓ และ มคอ.๔) - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีระบบในการกำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓) โดยศูนย์บริการทางการศึกษา จะมีหนังสือแจ้งไปยังคณะให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ส่ง มคอ.๓ ก่อนเปิดภาคการศึกษา - คณะและหน่วยที่รับผิดชอบในรายวิชา มีการดำเนินการให้อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบแต่ละรายวิชาจัดทำประมวลการสอนรายวิชา (มคอ.๓) ส่งก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาของปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยแต่ละคณะจะมีการประชุมตรวจสอบความเรียบร้อยของ มคอ.๓ ให้ทันสมัยในด้านเนื้อหาสาระรายวิชา กิจกรรมการเรียน การวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับ มคอ.๒ และกำหนดให้มีการประเมินการสอนและวิเคราะห์คุณภาพการสอนในมุมมองของผู้เรียน ตลอดจนมีการควบคุมการจัดส่ง มคอ.๓ ให้ทันกำหนดก่อนเปิดภาคการศึกษา ตามที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจกำหนด - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีความพึงพอใจต่อการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่ระดับคะแนน ๔.๐๓ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำ มคอ.๓ เพื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ซึ่งเป็นการฝึกอบรมพัฒนาความรู้การจัดทำ มคอ. ให้กับอาจารย์ทุกคน เพื่อการจัดทำ มคอ.๓ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น |
๕.๒ - ๒ - ๐๑ ๕.๒ - ๒ - ๐๒ ๕.๒ - ๒ - ๐๓ ๕.๒ - ๒ - ๐๔ |
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีประกาศกำหนดมาตรฐานภาระงานวิชาการ กำหนดให้คณาจารย์ได้ภาระงานจากการไปทำวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการให้ทุนวิจัยกับอาจารย์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีประกาศให้ผู้ที่ทำวิจัย ผู้ที่ให้บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นำความรู้ ข้อมูลหรือประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการกับการเรียนการสอน - แต่ละคณะ มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนมีการนำเอาผลงานวิจัยของอาจารย์มาใช้ในการเรียนการสอน และการส่งเสริมให้อาจารย์ใช้วิธีการสอนใหม่ๆ ที่พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ อาทิเช่น วิชาสังคมวิทยา ได้บูรณาการการเรียนการสอน โดยจัดทำโครงการโรงเรียนนายร้อยตำรวจองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ : นวัตกรรมร่วมเรียนรู้สู่เครือข่ายการพัฒนา (SMART Acdemy SMART Innovation SMART Network) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ อาจารย์ บุคลากร และประชาชนใกล้เคียงโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ด้วยการดำเนินการตามหลัก G-SMART Model คือ Good Social, Good Mind, Good Action, Good Relationship และ Good Team work โครงการสามารถสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเกิดแกนนำนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นอาสาสมัครสร้างเสริมสุขภาพ “Smart Hero” เพื่อเป็นต้นแบบและผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิทัศน์ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ในโครงการยังได้สอดแทรกองค์ความรู้ด้านการวิจัยโดยมอบหมายให้นักเรียนนายร้อยตำรวจตำรวจได้ร่วมสำรวจชุมชน วิเคราะห์ปัญหาของชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการระบบ/กลไกการสร้างเสริมสุขภาพตามบทบาทของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพทั้งในระดับของสถาบันและระดับท้องถิ่น/ชุมชน ยกระดับการทำงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจในรูปแบบเครือข่าย โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ระหว่างเครือข่าย อันจะสามารถเป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้แก่สถานศึกษาอื่นได้ โดยขยายเครือข่ายไปสู่ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและชุมชนทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายเรืออากาศ จนชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ในการสร้างกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยได้ให้คำแนะนำกับชุมชนบ้านเอื้ออาทรอ้อมน้อย สามารถเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงาน/องค์กรท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากโครงการฯ เช่น โครงการเต้นรำออกกำลังกายด้วยท่าเต้นรำบาสโลบ โดยเทียบเคียงหรือลอกเรียนแบบโครงการโยคะเพื่อสุขภาพ ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้จัดทำขึ้น และเป็นการรักษาวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเองด้วย |
๕.๒ - ๓ - ๐๑ ๕.๒ - ๓ - ๐๒ |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | ๓ ระดับ | ๔ ระดับ | ๔ คะแนน |
þ สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน | แหล่งหลักฐาน |
---|---|---|---|
๑ | คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์และครูผู้สอนนักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ | ๕.๒ - ๑ - ๐๑ | ศบศ. |
๒ | หนังสือแจ้งเรื่องกำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คณาจารย์พิเศษ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ | ๕.๒ - ๑ - ๐๒ | รร.นรต. |
๓ | หนังสือเชิญวิทยากรบรรยายพิเศษ | ๕.๒ - ๑ - ๐๓ | นว. |
๔ | ผลการประเมินความพึงพอใจในประเด็นด้านการจัดการเรียนการสอน การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | ๕.๒ - ๑ - ๐๔ | รร.นรต. |
๕ | โครงการฝึกทักษะเพิ่มเติมเสริมวิชามวยไทย โดยทีมงานไทยไฟต์แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ | ๕.๒ - ๑ - ๐๕ | ศฝต. |
๖ | รายงานผลประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอนโครงการฝึกทักษะเพิ่มเติมเสริมวิชามวยไทย โดยทีมงานไทยไฟต์แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ | ๕.๒ - ๑ - ๐๖ | ศฝต. |
๗ | ปฏิทินการจัดทำ มคอ.๓-มคอ.๗ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | ๕.๒ - ๒ - ๐๑ | รร.นรต. |
๘ | หนังสือส่ง มคอ.๓ | ๕.๒ - ๒ - ๐๒ | ตศ. |
๙ | ตัวอย่าง มคอ.๓ | ๕.๒ - ๒ - ๐๓ | ตศ. |
๑๐ | โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ | ๕.๒ - ๒ - ๐๔ | ศบศ. |
๑๑ | ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๕๕ | ๕.๒ - ๓ - ๐๑ | รร.นรต. |
๑๒ | โครงการเรียนรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์โดยอาศัยประสบการณ์จริง หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ | ๕.๒ - ๓ - ๐๒ | นว. |