การดำเนินงานในแต่ละระดับ | หมายเลขเอกสาร |
---|---|
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี ๑. มีระบบและกลไก ๑) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ มีนักศึกษาคือนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ ๑-๔ มีอาจารย์จาก ๓ คณะได้แก่ คณะตำรวจศาสตร์ นิติวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ร่วมกันดูแล โดยจะแบ่งสัดส่วนตามจำนวนอาจารย์ ทุกปีการศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้ (๑) ให้คำปรึกษาในด้านการเรียนการสอนแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ และคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อผลการเรียนตกต่ำ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็นไปตามความถนัดและความสามารถเฉพาะของแต่ละบุคคล (๓) ให้คำแนะนำ และให้แนวทางเกี่ยวกับแนวทางการรับราชการตำรวจ และแนวทางการศึกษาต่อ (๔) ประสานกับกองบังคับการปกครอง ในการควบคุม กวดขัน ด้านระเบียบวินัย และความประพฤติของนักเรียนนายร้อยตำรวจ (๕) กำหนดวัน เวลา สถานที่ ที่สามารถให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมาติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษา แนะนำ โดยติดประกาศไว้ให้สามารถเห็นได้ชัดเจน (๖) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม ๒) ๓ คณะจัดทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา ๓) ประชาสัมพันธ์คำสั่งให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ทราบอาจารย์ที่ปรึกษาโดย ส่งคำสั่งดังกล่าวให้ฝ่ายปกครองเพื่อแจ้งนักเรียนนายร้อยตำรวจ ติดประกาศประชาสัมพันธ์ที่คณะ ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของคณะ ๔) ดำเนินการให้คำปรึกษา ๕) รายงานผลการให้คำปรึกษาให้คณบดีรับทราบ ๖) ประเมินผลการให้คำปรึกษา ๒. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ๑) ๓ คณะดำเนินการจัดทำคำสั่ง ดังนี้ - คำสั่งคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ - คำสั่งคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ ๔๑/๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ - คำสั่งคณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ ๑๕/๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๒) หลังจากคณาจารย์ได้รับมอบหมายและนำไปปฏิบัติ ให้คำปรึกษากับนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะต้องดำเนินการรายงานผลการให้คำปรึกษาตามแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูล ประวัตินักเรียนนายร้อยตำรวจที่รับคำปรึกษา ทั้งด้านวิชาการ และคำแนะนำอื่นๆ กับคณบดีเพื่อรายงานต่อผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหา และหาแนวทางแก้ไขต่อไป ๓. มีการประเมินกระบวนการ ๑) มีการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีการให้คำปรึกษาและแนะแนวแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ เฉลี่ยในภาพรวมได้ค่าเฉลี่ย ๓.๙๔ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ๒) นอกจากนี้ยังมีผลการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาตามแบบประเมินความสามารถของอาจารย์ที่ปรึกษาจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๔. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ระบบการให้คำปรึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้กำหนดให้มีมาเป็นเวลาช้านาน และมีการปรับปรุงมาโดยตลอด ดังนี้ ๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๗ - มีการปรับปรุงคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษา เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน - จากระบบการศึกษาของนักเรียนนายร้อยตำรวจพบว่า โอกาสที่นักเรียนจะไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เพราะนักเรียนมีช่วงเวลาว่างน้อย และบางครั้งช่วงที่เด็กว่าง อาจารย์ติดสอน ปัจจุบันมีระบบสารสนเทศที่มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เดิมเริ่มจากการติดต่อทาง E- mail และพัฒนามาเป็นไลน์ อาจารย์และเด็กนักเรียนเริ่มติดต่อกันทางไลน์มากขึ้นทำให้สะดวกในการให้คำปรึกษา ถึงแม้อาจารย์ไม่ว่าง เด็กก็สามารถฝากข้อคำถามไว้ได้ ๒) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ - พัฒนาคู่มือจากเดิมให้มีความสะดวกสำหรับอาจารย์มากขึ้นโดยทำเป็นคู่มือเฉพาะของอาจารย์แต่ละท่าน ภายในคู่มือจะประกอบด้วยระเบียบปฏิบัติ และรายชื่อนักเรียนนายร้อยตำรวจ และแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อความสะดวกของอาจารย์ในการให้คำปรึกษา และเก็บรวบรวมหลักฐาน - ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเริ่มมีการใช้ไลน์ในการติดต่อ และในปีการศึกษา ๒๕๕๘ เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยอาจารย์จะจัดตั้งกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในกลุ่มจะมีนักเรียนนายร้อยตำรวจทุกชั้นปี ร่วมทั้งส่วนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ก็มาร่วมให้คำแนะนำ เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนรุ่นน้องๆ ได้ทราบปัญหาที่พี่ๆ ได้เจอและเคยขอคำปรึกษาจากอาจารย์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษามากขึ้น - นำผลการประเมินตามคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา และแบบฟอร์มการประเมินของนักเรียนมาพัฒนากระบวนการใหม่โดยจัดทำเป็นเว็บไซต์ของคณะนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปใช้บริการข่าวสารเกี่ยวกับการเรียนการสอน การศึกษาในระดับปริญญาโท การให้คำปรึกษาในกระดานข่าว เป็นต้น - ปรับปรุงแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดสัดส่วนการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม เมื่อจำนวนอาจารย์มีการเปลี่ยนแปลง ๕.แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา - การใช้สังคมสื่อออนไลน์ หรือ Facebook เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ เมื่อนักเรียนนายร้อยตำรวจได้เห็นภาพตนเองบน Facebook ที่อาจารย์ได้โพสต์ เช่น ขอบคุณที่นำอาหารมาฝาก ขอบคุณที่มาชงกาแฟให้อาจารย์ หรือการเตรียมอาหาร เครื่องดื่มไว้สำหรับเด็ก ทำให้เกิดแรงจูงใจในการติดต่ออาจารย์ เกิดความรู้สึกที่ดีเมื่ออาจารย์แสดงออกถึงความรักและเอ็นดูผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อได้เห็นสิ่งที่อาจารย์ได้ดูแลแนะนำเพื่อนๆ เช่นการพาไปร่วมกิจกรรม การให้คำแนะนำในการทำโครงงานวิจัย ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจบางคนซึ่งไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของอาจารย์เข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก จนเด็กบางกลุ่มมานั่งอ่านหนังสือก่อนสอบที่ห้องทำงานของอาจารย์ - จากความช่วยเหลือแนะนำของอาจารย์ ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจที่มาขอคำปรึกษาในการจัดทำคลิปเรื่องสั้นเข้าประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ “Go Further” จนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับสอง และ Popular Vote ได้เงินรางวัลรวม ๘๐,๐๐๐ บาท จากผู้เข้าแข่งขัน ๕๑ ทีม |
๓.๒ - ๑ – ๐๑ ๓.๒ - ๑ - ๐๒ ๓.๒ - ๑ – ๐๓ ๓.๒ - ๑ – ๐๔ ๓.๒ - ๑ - ๐๕ |
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ๑. มีระบบและกลไก ๑) โรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งมีพันธกิจหลักในการเรียนการสอนหลักสูตรหลัก คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ ได้แบ่งโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่มอบหมายให้ฝ่ายกิจกรรม ของกองบังคับการปกครองและศูนย์ฝึกตำรวจ มีหน้าที่หลักในการดูแลจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนนายร้อยตำรวจในทุกๆ ด้านที่ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นการพัฒนา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะกลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ ๒) หน่วยที่ได้รับมอบหมายดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของหน่วย โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน โดยบรรจุโครงการ/กิจกรรมต่างๆ และกำหนดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลตามขั้นตอนที่กำหนด ทุก ๖ เดือน ๙ เดือน และ ๑๒ เดือน โครงการ/กิจกรรม ที่บรรจุอยู่ในแผนของ กองบังคับการปกครอง และศูนย์ฝึกตำรวจ ได้แก่ - โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน - โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม - โครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจรับใช้ประชาชนในชนบท - โครงการฝึกชุดปฏิบัติการพิเศษศรียานนท์ ๔๖ - การฝึกหัดขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ๓) รายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ให้ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจทราบ ๔) มีการประเมินแผนปฏิบัติราชการโครงการ/กิจกรรม ทุก ๖ เดือน, ๙ เดือน และ ๑๒ เดือน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในปีถัดไป ๕) ประเมินการดำเนินการพัฒนานักศึกษาในภาพรวม ๖) ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงตามคำแนะนำ ๒. มีการนำระบบและกลไก ไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน กองบังคับการปกครองได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ อาทิเช่น ๑) การฝึกอบรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๒ (นักเรียนใหม่) ระหว่างวันที่ ๗-๙ เม.ย.๒๕๕๘ เพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ฝึกตนเองให้รู้จักอดทนอดกลั้น เป็นการปรับพื้นฐานจิตใจ ละลายพฤติกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาใน รร.นรต. (นักเรียนใหม่) ๒) หลักสูตร นรต.สัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๗-๒๑ ก.ย.๒๕๕๘ เพื่อให้ นรต.เรียนรู้การทำงานจากประสบการณ์จริง เสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ตลอดจนให้ความสำคัญของปัญหาชุมชน โดยเข้าไปสัมผัสปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ๓) หลักสูตร นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ ๓๑ ระหว่างวันที่ ๓-๑๗ ก.ย.๒๕๕๘ โดยแนวทางการฝึกคือให้ นรต.ได้พักอาศัยกับครอบครัวประชาชนในชนบท ได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน แต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่และเรียนรู้วิถีชีวิตจากสังคมภายนอก อันเป็นสังคมแห่งความจริงที่ นรต.ต้องเผชิญ และเป็นกระบวนการปลูกฝัง นรต. ซึ่งต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษาออกไป ๔) การฝึกหัดขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้กับ นรต.ชั้นปีที่ ๒ (รุ่นที่ ๗๑) ระหว่างวันที่ ๒๒ ต.ค. – ๑๗ ธ.ค.๒๕๕๘ เพื่อฝึกให้นักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบไปแล้วสามารถขับรถได้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เลย โดยไม่ต้องไปฝึกขับรถเองภายหลัง ๕) โครงการฝึกชุดปฏิบัติการพิเศษศรียานนท์ ๔๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๕ มี.ค.๒๕๕๙ จำนวน ๒๗ คน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับ นรต. พัฒนาทักษะ ประสบการณ์ และความชำนาญ พร้อมทั้งสามารถเป็นครูฝึกให้กับรุ่นต่อไป และยังสามารถเป็นผู้ช่วยครูฝึกให้กับ กยต.ศฝต. ซึ่งขาดแคลนวิทยากร และครูฝึกได้ อีกทั้งเมื่อจบการศึกษาแล้ว ยังสามารถไปเป็นครูฝึกให้กับหน่วยงานที่ไปปฏิบัติงานได้ ๓. การประเมินกระบวนการ ๑) รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ อาทิเช่น - รายงานผลการดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๒ ตามหนังสือ กจ.บก.ปค.ที่ ๐๐๓๕.๒๔๑/๑๑๙ ลง ๒๓ เม.ย.๒๕๕๘ - รายงานผลการประเมินการฝึกหลักสูตร นรต.สัมผัสปัญหาชุมชนรุ่นที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๙ ตามหนังสือ กจ.บก.ปค.ที่ ๐๐๓๕.๒๔๒/๐๐๑ ลง ๔ ม.ค.๕๙ - รายงานผลการวิเคราะห์แบบสอบถามหลักสูตร นรต.ฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ ๓๑ ตามหนังสือ กจ.บก.ปค.ที่ ๐๐๓๕.๒๔๑/๔๐๕ ลง ๑๗ ธ.ค.๒๕๕๘ ๒) ได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจในประเด็นด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ตามหนังสือ สปศ.รร.นรต. ที่ ๐๐๓๕.๙/๒๒๓ ลง ๓๑ พ.ค.๒๕๕๙ ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา สรุปคะแนนความพึงพอใจของอาจารย์และนักเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ระดับคะแนน ๓.๘๖ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ๔. สรุปปัญหาและกระบวนการปรับปรุง ๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๗ (๑) โครงการอบรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๐ มีปัญหาอุปสรรค คือ เบาะรองนั่งแข็งเกินไป ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ จึงได้จัดหาเบาะรองนั่งสำหรับการปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ (๒) หลักสูตร นักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ ๒๙ ณ จว.ประจวบคีรีขันธ์ มีข้อเสนอแนะว่า กิจกรรมที่ดี ต้องการให้ดำเนินการต่อไปทุก ๆ ปี และไม่ควรจัดที่จังหวัดเดิม และไม่ควรซ้ำกับครอบครัวเดิม ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร โดยใช้พื้นที่ของ จว.ราชบุรี (๓) หลักสูตร นักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ ๑๗ ประจำปี ๒๕๕๖ รายงานอุปสรรค และข้อเสนอแนะว่า ระยะเวลาในการฝึกหลักสูตร น้อยเกินไป ซึ่งในปี ๒๕๕๖ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๓-๒๙ ก.ย.๒๕๕๖ รวม ๗ วัน ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ จึงเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินการเป็น ๑๕ วัน ตั้งแต่วันที่ ๕-๑๙ ก.ย.๒๕๕๗ ๒) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ (๑) โครงการอบรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๗๑ มีปัญหาอุปสรรค คือ สถานที่คับแคบ ไม่เหมาะกับการปฏิบัติธรรม อากาศร้อนอบอ้าวเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นไม่เพียงพอ ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ (นรต.รุ่นที่ ๗๒) จึงได้ขอรับการสนับสนุนเครื่องปรับอากาศไว้ประจำ ณ อาคารธรรมสถาน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และปรับเปลี่ยนบรรยากาศสถานที่การนั่งสมาธิในการปฏิบัติธรรมให้มีทั้งภายในและภายนอกสถานที่ (๒) หลักสูตร นักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ ๓๐ ทางจังหวัดมีข้อเสนอแนะว่า ควรชี้แจงให้ข้อมูลและความเข้าใจกับพ่อแม่สมมุติถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกให้มากยิ่งขึ้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ (รุ่นที่ ๓๑) ทางโรงเรียนนายร้อยตำรวจโดยกองบังคับการปกครอง จึงได้เน้นย้ำและทำความเข้าใจกับพ่อแม่สมมติ โดยใช้ Powerpoint และ Vedio เป็นสื่อในการประชุมเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น (๓) หลักสูตร นักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๕๗ รายงานอุปสรรคและข้อเสนอแนะว่า ไม่มีที่พัก การเดินทางไม่สะดวกเนื่องจากที่พักอยู่ไกลจากสถานที่ฝึก ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ (รุ่นที่ ๑๙) บก.ปค.จึงได้จัดหาที่พักให้ นรต.ในบางสถานที่ที่สามารถรองรับจำนวน นรต.ที่ฝึกหลักสูตรนี้ได้ ๕. แนวปฏิบัติที่ดี เนื่องจากทุกปีการศึกษา ได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ตามวงรอบของแผนปฏิบัติราชการ และแผนปฏิบัติราชการของฝ่ายกิจกรรม มีการดำเนินการ และมีการรายงานผลการดำเนินการ เพื่อการปรับปรุงพัฒนา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามวงจร PDCA ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี จนทำให้เกิดคู่มือในการปฏิบัติงาน โดยคู่มือดังกล่าวได้กลั่นกรอง วิเคราะห์ และปรับปรุงเรื่อยมาจนสามารถนำคู่มือที่ได้จัดทำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติแก่ นรต. ที่เข้ารับการฝึก ได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ดังนี้ ๑. คู่มือ การดำเนินงานหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท รุ่นที่ ๓๑ ๒. คู่มือ การปฏิบัติงานนักเรียนนายร้อยตำรวจ หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน รุ่นที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๘ |
๓.๒ - ๒ – ๐๑ ๓.๒ - ๒ – ๐๒ ๓.๒ - ๒ – ๓ ๓.๒ - ๒ – ๐๔ ๓.๒ - ๒ – ๐๕ |
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบตัวบ่งชี้ |
เป้าหมาย |
ผลการ ดำเนินงาน |
คะแนนที่ได้ | การบรรลุเป้าหมาย |
การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | ระดับ ๓ | ระดับ ๕ | ๕ คะแนน |
þ สูงกว่าเป้าหมาย o เป็นไปตามเป้าหมาย o ต่ำกว่าเป้าหมาย |
ที่ | รายการหลักฐาน | รหัสหลักฐาน |
---|---|---|
๑ | หลักฐานระบบกลไกการให้คำปรึกษา | ๓.๒ - ๑ - ๐๑ |
๒ | มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานการให้คำปรึกษา | ๓.๒ - ๑ - ๐๒ |
๓ | หลักฐานการประเมินกระบวนการการให้คำปรึกษา | ๓.๒ – ๑ – ๐๓ |
๔ | หลักฐานการพัฒนาปรับปรุงการให้คำปรึกษา | ๓.๒ – ๑ – ๐๔ |
๕ | หลักฐานแนวปฏิบัติที่ดีการให้คำปรึกษา | ๓.๒ – ๑ – ๐๕ |
๖ | หลักฐานการประเมินการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | ๓.๒ – ๒ - ๐๑ |
๗ | หลักฐานการปรับปรุงแก้ไขระบบกลไกการให้คำปรึกษา | ๓.๒ – ๒ – ๐๒ |
๘ | หลักฐานการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | ๓.๒ – ๒ – ๐๓ |
๙ | หลักฐานผลการปรับปรุงชัดเจนเป็นรูปธรรมของ ระบบกลไกการให้คำปรึกษา | ๓.๒ – ๒ – ๐๔ |
๑๐ | หลักฐานผลการปรับปรุงชัดเจนเป็นรูปธรรมของการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | ๓.๒ – ๒ – ๐๕ |